สัณฐานของดิน
อธิบายถึงขั้นตอนการศึกษาและอธิบายความหมายของลักษณะและสมบัติต่างๆ ของดินที่ตรวจวัด ได้แก่ ความลึก ความหนา แนวเขตของชั้นดิน สีของดิน เนื้อดิน โครงสร้าง การยึดตัวของดิน การเคลื่อนย้ายของอนุภาคดินเหนียว หรือสารต่างๆ ช่องว่างในดิน รากพืช ปฏิกิริยาดิน ก้อนกรวด ลูกรัง เศษหิน ก้อนสารเคมีสะสม ศิลาแลงอ่อน และผิวถูไถ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถวินิจฉัยคุณสมบัติของดินในเบื้องต้นได้

   
 
คู่มือการดูดินเบื้องต้น 
ื้เป็นการบรรยายลักษณะและสมบัติบางประการของดินที่สำคัญ ตลอดจนวิธีการปฏิบัติ สำหรับการศึกษาและแปลผลเบื้องต้นได้แก่
โครงสร้างของดิน (soil structure) การระบายน้ำของดิน (soil drainage) สีของดิน (soil color) เนื้อดิน (soil texture) ปฏิกิริยาดิน (soil reaction)
ความเค็มของดิน (soil salinity) และปริมาณธาตุอาหารพืช (nutrient status)
   
 
คู่มือการทำคำบรรยายหน้าตัดดิน
การทำคำบรรยายหน้าตัดของดิน เป็นสิ่งสำคัญที่นักสำรวจดินทุกคนต้องทำได้ เพราะข้อมูลที่ได้จากการทำคำบรรยายดังกล่าว
จะเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่สำคัญที่สุดในการนำไปใช้จำแนกดินออกเป็นหน่วยจำแนกดินต่างๆ เป็นการอธิบายถึง วิธีทำคำบรรยายหน้าตัดของดินเป็นข้อๆ ไป โดยเรียงลำดับตามที่พิมพ์ไว้ในแผ่นทำคำบรรยายหน้าตัดของดินในสนาม
   
 
คู่มือการสำรวจดิน
จัดทำขึ้นเพื่อให้นักสำรวจดินและผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการสำรวจจำแนกดิน สามารถใช้เป็นคู่มืออย่างง่ายใน การศึกษากระบวนการและวิธีการสำรวจจำแนกดิน การตรวจสอบความถูกต้องของขอบเขตดินและหน่วยแผนที่ดิน
การจัดทำแผนที่ และรายงานการสำรวจดิน รวมทั้งประโยชน์ของการสำรวจดิน
   
 
คู่มือการเขียนหน่วยแผนที่ดิน 
เป็นคู่มือสำหรับนักสำรวจดินใช้เป็นแนวทางในการสำรวจจำแนกดินและทำแผนที่ดิน ซึ่งจะอธิบายถึง การวินิจฉัยพื้นที่ในการสำรวจและทำแผนที่ดิน ประเภทของหน่วยแผนที่ ประเภทดิน หลักเกณฑ์การเขียนประเภทดิน การเขียนสัญลักษณ์และคำอธิบายหน่วยแผนที่ดิน
   
 

ลักษณะและสมบัติของชุดดินในภาคเหนือและที่สูงตอนกลางของประเทศไทย (อังกฤษ)
เป็นข้อมูลของชุดดินจัดตั้งที่พบในภาคเหนือ และที่สูงตอนกลางจำนวน 55 ชุดดิน แต่ละชุดดินประกอบด้วย คำบรรยายหน้าตัดดิน ลักษณะและสมบัติต่างๆ ของดินทาง สัณฐาน กายภาพ เคมี แร่และจุลสัณฐานวิทยา ตลอดจนสภาพแวดล้อม วัตถุต้นกำเนิดดิน สภาพพื้นที่และอื่นๆ ที่ได้บันทึกไว้ในภาคสนาม ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้จะบันทึกเป็นภาษาอังกฤษ

   
 
ลักษณะและสมบัติของชุดดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย (อังกฤษ)
เป็นข้อมูลของชุดดินจัดตั้งที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 44 ชุดดิน แต่ละชุดดินประกอบด้วย คำบรรยายหน้าตัดดิน ลักษณะและสมบัติต่างๆ ของดินทาง สัณฐาน กายภาพ เคมี แร่และจุลสัณฐานวิทยา ตลอดจนสภาพแวดล้อม วัตถุต้นกำเนิดดิน สภาพพื้นที่และอื่นๆ
ที่ได้บันทึกไว้ในภาคสนาม
ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้จะบันทึกเป็นภาษาอังกฤษ
   
 
ลักษณะและสมบัติของชุดดินในภาคกลางของประเทศไทย (อังกฤษ)
เป็นข้อมูลของชุดดินจัดตั้งที่พบในภาคกลาง จำนวน 45 ชุดดิน แต่ละชุดดินประกอบด้วย คำบรรยายหน้าตัดดิน ลักษณะและสมบัติต่างๆ ของดินทาง สัณฐาน กายภาพ เคมี แร่และจุลสัณฐานวิทยา ตลอดจนสภาพแวดล้อม วัตถุต้นกำเนิดดิน สภาพพื้นที่และอื่นๆ
ที่ได้บันทึกไว้ในภาคสนาม
ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้จะบันทึกเป็นภาษาอังกฤษ
   
 
ลักษณะและสมบัติของชุดดินในภาคใต้ของประเทศไทย (อังกฤษ)
เป็นข้อมูลของชุดดินจัดตั้งที่พบในภาคใต้จำนวน 96 ชุดดิน แต่ละชุดดินประกอบด้วย คำบรรยายหน้าตัดดิน ลักษณะและสมบัติต่างๆ ของดินทาง สัณฐาน กายภาพ เคมี แร่และจุลสัณฐานวิทยา ตลอดจนสภาพแวดล้อม วัตถุต้นกำเนิดดิน สภาพพื้นที่และอื่นๆ ที่ได้บันทึกไว้ในภาคสนาม
ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้จะบันทึกเป็นภาษาอังกฤษ
   
 
ลักษณะและสมบัติของชุดดินในภาคเหนือและที่สูงตอนกลางของประเทศไทย (ไทย)
เป็นเอกสารอธิบายลักษณะและสมบัติของชุดดินฉบับภาษาไทย ซึ่งมีภาพหน้าตัดดินของชุดดินต่างๆ ประกอบ พร้อมทั้งบรรยาย ลักษณะและคุณสมบัติ การจำแนก การกำเนิด สภาพพื้นที่ การระบายน้ำ การไหลบ่าของน้ำ การซึมผ่านได้ของน้ำ พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ การแพร่กระจาย การจัดเรียงชั้น ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ข้อจำกัดและข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์
ของชุดดินจัดตั้งที่พบในภาคเหนือและที่สูงตอนกลาง จำนวน 55 ชุดดิน
   
 
ลักษณะและสมบัติของชุดดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย (ไทย)
เป็นเอกสารอธิบายลักษณะและสมบัติของชุดดินฉบับภาษาไทย ซึ่งมีภาพหน้าตัดดินของชุดดินต่างๆ ประกอบ
พร้อมทั้งบรรยาย ลักษณะและคุณสมบัติ การจำแนก การกำเนิด สภาพพื้นที่ การระบายน้ำ การไหลบ่าของน้ำ การซึมผ่านได้ของน้ำ พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ การแพร่กระจาย การจัดเรียงชั้น ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ข้อจำกัดและข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์
ของชุดดินจัดตั้งที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 44 ชุดดิน
   
 
ลักษณะและสมบัติของชุดดินในภาคกลางของประเทศไทย (ไทย) 
เป็นเอกสารอธิบายลักษณะและสมบัติของชุดดินฉบับภาษาไทย ซึ่งมีภาพหน้าตัดดินของชุดดินต่างๆ ประกอบ
พร้อมทั้งบรรยาย ลักษณะและคุณสมบัติ การจำแนก การกำเนิด สภาพพื้นที่ การระบายน้ำ การไหลบ่าของน้ำ การซึมผ่านได้ของน้ำ พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ การแพร่กระจาย การจัดเรียงชั้น ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ข้อจำกัดและข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์
ของชุดดินจัดตั้งที่พบในภาคกลางจำนวน 45 ชุดดิน
   
 
ลักษณะและสมบัติของชุดดินในภาคใต้ของประเทศไทย (ไทย)
เป็นเอกสารอธิบายลักษณะและสมบัติของชุดดินฉบับภาษาไทย ซึ่งมีภาพหน้าตัดดินของชุดดินต่างๆ ประกอบ
พร้อมทั้งบรรยาย ลักษณะและคุณสมบัติ การจำแนก การกำเนิด สภาพพื้นที่ การระบายน้ำ การไหลบ่าของน้ำ การซึมผ่านได้ของน้ำ พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ การแพร่กระจาย การจัดเรียงชั้น ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ข้อจำกัดและข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์
ของชุดดินจัดตั้งที่พบในภาคใต้ 96 ชุดดิน
   
 
ลักษณะและสมบัติของดินที่เป็นตัวแทนกลุ่มชุดดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจ
เอกสารฉบับนี้ประกอบด้วยคำบรรยายลักษณะและสมบัติต่างๆ ของกลุ่มชุดดินที่มีศักยภาพในการใช้ประโยชน์ที่ดินคล้ายคลึงกัน แบ่งออกเป็น 62 กลุ่ม
และข้อมูลคำบรรยายสภาพพื้นที่และสภาพแวดล้อมของดิน พร้อมทั้งแสดงผลวิเคราะห์สมบัติของแต่ละชุดดินตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของกลุ่มชุดดิน
57 ชุดดิน
ยกเว้นในกลุ่มชุดดินที่ 8,59,60,61 และ 66 ซึ่งเป็นกลุ่มชุดดินที่ถูกดัดแปลง หรือเป็นดินที่มีลักษณะและสมบัติไม่แน่นอน
   
 

มหัศจรรย์พันธุ์ดิน 
้เป็นการบรรยายลักษณะและคุณสมบัติ ปัญหาการใช้ประโยชน์และแนวทางการจัดการเมื่อนำไปใูช้ในการปลูกพืชของกลุ่มชุดดิน
62 กลุ่ม
แต่ละกลุ่มชุดดินนั้นได้มาจากการรวมชุดดินที่มีลักษณะและสมบัติดิน มีศักยภาพคล้ายคลึงกันในด้านที่มีผลต่อการเจริญเติบโต
และให้ผลผลิตพืชที่ปลูก

   
 
คู่มือการใช้แผนที่กลุ่มดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจ  
เนื่องจากแผนที่กลุ่มชุดดินมีลักษณะค่อนข้างเป็นวิชาการอาจทำให้ยุ่งยากในการใช้ ดังนั้นจึงได้จัดทำคู่มือการใช้แผนที่กลุ่มชุดดินเพื่อการปลูก
พืชเศรษฐกิจนี้ขึ้น เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการอ่านและการใช้แผนที่กลุ่มชุดดินตลอดจนให้ทราบถึงลักษณะประจำตัวของกลุ่มชุดดินแต่ละกลุ่ม
และสามารถพิจารณาความเหมาะสม สำหรับนำไปปลูกพืชแต่ละชนิด ตลอดจนข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์และแนวทางแก้ไขได้อย่างเหมาะสม
   
 
คู่มือการจำแนกความเหมาะสมของดินสำหรับพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย  
เป็นการจัดหมวดหมู่ของดินที่ได้จากการสำรวจตรวจสอบดินในภาคสนาม และในห้องปฏิบัติการ โดยอาศัยลักษณะและคุณสมบัติต่างๆ ทางกายภาพ เคมี ตลอดจนสภาพแวดล้อมของดินบางประการที่มีผลต่อการเจริญเติบโต หรือมีผลกระทบต่อผลผลิตของพืช มาทำการประเมินหรือแปลข้อมูลดิน ว่าพื้นที่นั้นมีความเหมาะสมต่อการปลูกพืชมากน้อยเพียงไร มีข้อจำกัดอะไรบ้าง ที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิต และมีความรุนแรงอยู่ในระดับใด ทั้งนี้เพื่อจะได้ใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้น ในการแก้ไขปัญหาของข้อจำกัดเหล่านั้น
   
 
ความรู้เรื่องดินสำหรับเยาวชน 
จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้สนใจใคร่รู้เกี่ยวกับดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเยาวชนระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป ได้ใช้เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการศึกษาเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และสามารถใช้เป็นพื้นฐานในการค้นคว้าเพิ่มเติมต่อไป ประกอบด้วย กำเนิดของดิน ดินคืออะไร ดินสำคัญอย่างไร โลกของเรามีดินอยู่มากน้อยแค่ไหน ส่วนประกอบของดิน ดินที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก ปัจจัยที่ควบคุม การสร้างตัวของดิน ลักษณะและสมบัติของดิน การศึกษา เกี่ยวกับดิน การศึกษาดินในประเทศไทย งานสำรวจและจำแนกดินของประเทศไทย สำรวจดินกันอย่างไร ดินของประเทศไทย ดินดีทางการเกษตรเป็นอย่างไร ดินที่มีปัญหาด้านการเกษตร กรมพัฒนาที่ดินและพิพิธภัณฑ์ดิน
   
 
การเลือกพื้นที่สำหรับการทำเกษตรอินทรีย์
ใช้เป็นแนวทางในการเลือกพื้นที่ทำการเกษตรอินทรีย์แก่นักวิชาการและผู้สนใจทั่วไป ประกอบด้วย นิยามของเกษตรอินทรีย์ หลักการเกษตรอินทรีย์ การเลือกพื้นที่ี่สำหรับการทำเกษตรอินทรีย์ แผนที่แสดงความเหมาะสมของดินสำหรับนาข้าวอินทรีย์ แผนที่แสดงความเหมาะสมของดินสำหรับพืชไร่อินทรีย์ แผนที่แสดงความเหมาะสมของดินสำหรับไม้ผลอินทรีย์ ซึ่งจะทำให้เห็นภาพรวมของความเหมาะสมของดินในการปลูกพืชแต่ละประเภท