Page 11 - E-BOOK
P. 11

3. กฎของก�รจำ�แนกดินระบบ WRB

                       3.1  กฎทั่วไป

                         การจำาแนกประกอบด้วย 3 ขั้นตอน (STEPS)
                         ขั้นตอนที่ 1 : ตรวจสอบลักษณะที่กำาหนดเป็นชั้นดินวินิจฉัย สมบัติวินิจฉัย หรือวัสดุวินิจฉัยของ WRB

                          ตรวจสอบลักษณะที่ปรากฏในหน้าตัดดิน ความหนาและความลึก ว่าเข้ากับลักษณะที่กำาหนดเป็น
              ชั้นดินวินิจฉัย สมบัติวินิจฉัย หรือวัสดุวินิจฉัยของ WRB หรือไม่ ถ้าหากว่าชั้นดินเข้ากับลักษณะของชั้นดินวินิจฉัย

              ได้มากกว่า 1 ชั้น ให้ถือว่าซำ้าซ้อนหรือบังเอิญ
                         ขั้นตอนที่ 2 :  จำาแนก RSGs

                          เมื่อได้ลักษณะของชั้นดินวินิจฉัยต่างๆ สมบัติและวัสดุวินิจฉัยแล้วเปรียบเทียบลักษณะเพื่อกำาหนด RSGs
              (ระดับที่ 1) ตามการจำาแนกที่กำาหนดไว้ เริ่มตั้งแต่ต้นไปเรื่อยๆ อย่างละเอียดและเป็นระบบจนได้ RSG ที่มีลักษณะ

              ที่ตรงกับที่ได้ตรวจสอบในหน้าตัดดิน
                          ขั้นตอนที่ 3 :  จำาแนก Qualifiers

                          เป็นการจำาแนกขั้นตำ่าลงมา (ระดับที่ 2) ซึ่งจะมีการใช้ Qualifiers ประกอบซึ่ง Qualifiers
              ได้กำาหนดไว้ในการจำาแนกว่าเป็น Principal หรือ Supplementary Qualifiers
                       3.2  กฎของการจำาแนกดินและการจัดทำาหน่วยแผนที่

                          การจำาแนกดินตาม WRB ให้ใช้นิยามว่า ดินเป็นเทหวัตถุธรรมชาติที่มีความต่อเนื่องโดยมีมิติเชิงพื้นที่

              (กว้างxยาวxลึก) และมีมิติเชิงเวลา (temporal dimension) โดย “ดิน” เกิดจากองค์ประกอบเชิงแร่และวัสดุอินทรีย์
              ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าซองค์ประกอบของดินจับตัว (organized) เป็นโครงสร้างต่างๆ

              การศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับดินจะทำาให้เข้าใจถึงสมบัติทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ และจะทำาให้เข้าใจถึงอดีต
              และปัจจุบันของดิน และการพยากรณ์อนาคตของดิน ดินมีวิวัฒนาการที่ต่อเนื่อง (constant evolution) ไปตามมิติ

              ที่ 4 คือ เวลาความลึกของดินที่ใช้ในการจำาแนก คือ 2 เมตร รวมถึงบริเวณที่มีนำ้าขึ้นนำ้าลงให้กำาหนดบริเวณที่นำ้าลง
              (low tide) โดยจะไม่รวมสิ่งมีชีวิต (living organisms) พื้นที่ๆ ครอบคลุมโดยนำ้าแข็งหรือนำ้าที่ลึกกว่า 2 เมตร

              ในการจำาแนกดินนี้ ความกว้างยาวของพื้นที่ๆ ใช้ในการจำาแนกให้มีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะครอบคลุมลักษณะต่างๆ
              ของดินได้ ขนาดที่เล็กที่สุดมีพิสัยตั้งแต่ 1 ตารางเมตร ถึง 10 ตารางเมตร ขึ้นอยู่กับความแปรปรวนของดิน การจำาแนก

              จะใช้ข้อมูล Profile Description ข้อมูลวิเคราะห์ทั้งหมดทุกด้านที่วิเคราะห์ได้ ที่ความลึกตั้งแต่ผิวดินลงไปถึง 2 เมตร
              หรือถึงชั้นที่ขุดไม่ได้ โดยใช้เทคนิคและวิธีตาม FAO Guidelines RSGs ใน WRB ไม่ได้ต้องการให้ใช้ทำาแผนที่

              แต่กำาหนดจากหน่วยของ FAO-UNESCO Soil Map of the World Legend (มาตราส่วน 1:5,000,000)
                            ถ้าจะใช้กับแผนที่ WRB Qualifiers ควรใช้กับ Small Scale Maps
                           
                               Principal Qualifiers ใช้กับแผนที่มาตราส่วนระหว่าง 1:5,000,000 ถึง 1:10,000,000
                               Supplementary Qualifiers ใช้กับแผนที่มาตราส่วนระหว่าง 1:10,000,000 ถึง 1:250,000

                            แผนที่ดินมาตราส่วนใหญ่กว่า 1:250,000 ควรใช้หน่วยตามระบบการจำาแนกของประเทศ
                           
                               และไม่จัดเป็นหน่วยอ้างอิงของโลก (WRB)





                                                                                                         9
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16