Page 7 - E-BOOK
P. 7
คำ�นำ�
ข้อมูลทรัพยากรดินมีความสำาคัญต่อการกำาหนดนโยบายด้านการเกษตรของประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสมต่อศักยภาพของที่ดินและการจัดการดิน
เพื่อใช้ในการเกษตรอย่างยั่งยืน ดังนั้นฐานข้อมูลดินและแผนที่ดินเป็นข้อมูลพื้นฐานที่มีความสำาคัญต่อ
การวางแผนการเกษตรระดับประเทศไปจนถึงระดับไร่นา
การสำารวจและจำาแนกดินในประเทศไทยใช้ระบบอนุกรมวิธานดิน (Soil taxonomy)
ของสหรัฐอเมริกามาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน ในขณะที่ประเทศอาเซียนหลายประเทศทำาแผนที่ดิน
โดยใช้ระบบการจำาแนกดินตามฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก (World Reference Base for
Soil Resources: WRB) เป็นหลัก ในปัจจุบันมีโครงการความร่วมมือต่างๆ ของประชาคมอาเซียน
ในงานวิจัยด้านดินเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น สมัชชาความร่วมมือทรัพยากรดินภูมิภาคเอเชีย
(Asian Soil Partnership: ASP) รวมถึงสมัชชากลุ่มความร่วมมือทรัพยากรดินโลก (Global Soil
Partnership: GSP) จึงมีความจำาเป็นในการจัดทำาฐานข้อมูลดินและแผนที่ดิน เพื่อใช้เป็นสื่อกลาง
สร้างความร่วมมือทางวิชาการให้เป็นระบบมาตรฐานเดียวกันของโลก
สำาหรับการจัดทำาฐานข้อมูลทรัพยากรดินและแผนที่ดินของประเทศไทยตามระบบ
ฐานอ้างอิงทรัพยากรดินของโลก (WRB) ประกอบด้วย เนื้อหาหลักการจำาแนกดิน ลักษณะเชิงโครงสร้าง
กฎของการจำาแนกของระบบ WRB การเทียบเคียงหน่วยแผนที่ดินของประเทศไทยระบบ WRB
และระบบอนุกรมวิธานดิน (Soil taxonomy) รวมทั้งจัดทำาแผนที่ดินของประเทศไทยที่จำาแนก
ตามระบบ WRB มาตราส่วน 1:500,000 เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลดินในระดับสากล (World Soil
Database) สนับสนุนเครือข่ายความร่วมมือด้านดินโลก สำาหรับปฏิบัติงานในโครงการความร่วมมือ
และงานวิจัยระหว่างประเทศ
เอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักวิจัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เอกชน และผู้ใช้ข้อมูล
ทั่วไป นำาไปใช้เกี่ยวข้องกับความร่วมมือระดับสากล สามารถนำาฐานข้อมูลดิน และแผนที่ดิน
ที่จำาแนกตามระบบ WRB ไปเป็นข้อมูลประกอบการปฏิบัติงานในโครงการความร่วมมือระหว่าง
ประเทศ และงานวิจัยระดับสากลได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ