|
กลุ่มชุดดินที่ 41
ลักษณะดิน : เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อหยาบ
หรือเกดิจากตะกอนลำน้ำหรือวัตถุน้ำพาจาบริเวณที่สูงวางทับอยู่บนบนชั้นดินร่วนหยาบ
หรือร่วนละเอียด พบในบริเวณพื้นที่ดอน ลักษณะดินเป็นดินลึก มีการระบายน้ำดี-ดีปานกลาง
เนื้อดินช่วง 50-100 ซม. เป็นดินทรายหรือดินทรายปนดินร่วน ส่วนถัดลงไปเป็นดินร่วนปนทราย
และดินร่วนเหนียวปนทราย สีดินเป็นสีน้ำตาลอ่อน หรือเหลืองปนน้ำตาล
อาจพบจุดประสีต่างๆ ในชั้นดินล่าง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ดินบนมี
pH ประมาณ 5.5-6.5 ส่วนดินล่าง pH ประมาณ 6.0-7.0
การใช้ประโยชน์ : มันสำปะหลัง
อ้อย ปอ ข้าวโพด ยาสูบ
ปัญหา : มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก เนื้อดินบนเป็นทรายจัด
เสี่ยงต่อการขาดน้ำง่าย ถ้ามีฝนตกมาก ดินบนแฉะ
ชุดดิน: มหาสารคาม บ้านไผ่
คำบง หรือดินคล้ายอื่นๆ |
|
|
กลุ่มชุดดินที่ 42
ลักษณะดิน : พบบริเวณหาดทรายเก่าหรือสันทรายชายทะเล
เกิดจากตะกอนทรายชยทะเล เป็นดินลึกปานกลางถึงชั้นดานอินทรีย์ มีการระบายน้ำดีปานกลาง
เนื้อดินเป็นทรายจัด สีดินบนสีเทาแก่ ใต้ลงไปเป็นชั้นทรายีขาว และดินล่างระหว่างความลึก
50-100 ซม. เป็นชั้นที่มีการสะสมของพวกอินทรียวัตถุ เหล็ก หรือฮิวมัส
สีน้ำตาล สีแดง เชื่อมตัวกันแน่นแข็งเป็นชั้นดานอินทรีย์ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
pH ประมาณ 5.0-6.0
การใช้ประโยชน์ : มันสำปะหลัง
อ้อย สับปะรด มะพร้าว
ปัญหา : ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เนื้อดินเป็นทรายจัด
ในฤดูแล้ง ชั้นดานแห้งแข้งมากรากพืชไชชอนผ่านไม่ได้
ชุดดิน: บ้านทอน หรือดินคล้ายอื่นๆ |
|
|
กลุ่มชุดดินที่ 43
ลักษณะดิน : เป็นกลุ่มชุดดินที่พบในเขตฝนชุก เช่นภาคใต้
ภาคตะวันออก หรือบริเวณชายฝั่งทะเล เกิดจากตะกอนทรายชายทะเล หรือจากการสลายตัวอยู่กับที่
หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อหยาบ พบบริเวณหาดทราย
สันทรายชายทะเล หรือบริเวณที่ลาดเชิงเขา เป็นดินลึก มีการระบายน้ำค่อนข้างมากเกินไป
เนื้อดินเป็นพวกดินทราย สีเทา น้ำตาลอ่อน หรือเหลือง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
pH ประมาณ 4.5-6.0
การใช้ประโยชน์ : มันสำปะหลัง
อ้อย สับปะรด ปอ มะพร้าว มะม่วงหิมพานต์
ปัญหา : ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เนื้อดินเป็นทรายจัด
ขาดน้ำได้ง่าย
ชุดดิน: บาเจาะ ดงตะเคียน
หัวหิน หลังสวน ไม้ขาว พัทยา ระยอง สัตหีบ หรือดินคล้ายอื่นๆ |
|
|
กลุ่มชุดดินที่ 44
ลักษณะดิน : เกิดจากตะกอนลำน้ำ
หรือวัตถุต้นกำเนิดที่ผุพังสลายตัวอยู่กับที่ของวัสดุเนื้อหยาบ ลักษณะดินเป็นดินลึก
มีการระบายน้ำดีมากเกินไป เนื้อดินเป็นพวกดินทราย สีเทา น้ำตาลอ่อน
ในดินล่างที่ลึกมากกว่า 150 ซม. อาจพบเนื้อดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนเหนียวปนทราย
อาจพบจุดประสีต่างๆ ในชั้นดินล่าง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ pH ประมาณ
5.5-7.0
การใช้ประโยชน์ : มันสำปะหลัง อ้อย ปอ มะพร้าว มะม่วงหิมพานต์
ปัญหา : เนื้อดินเป็นทรายจัดและหนามาก มีโอกาสขาดน้ำได้ง่าย
ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ โครงสร้างไม่ดี
ชุดดิน: น้ำพอง จันทึก หรือดินคล้ายอื่นๆ |
|
|
กลุ่มชุดดินที่ 45
ลักษณะดิน : เป็นกลุ่มชุดดินที่พบในเขตฝนชุก เช่นภาคใต้
ภาคตะวันออก เกิดจากตะกอนลำน้ำ หรือวัตถุต้นกำเนิดที่ผุพังสลายตัวอยู่กับที่
หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อละเอียดของพวกหินตะกอน
เป็นกลุ่มดินร่วนหรือดินเหนียวที่มีลูกรัง เศษหิน หรือก้อนกรวดปนมาก
ภายในความลึก 50 ซม. ดินมีการระบายน้ำดีกรวดส่วนใหญ่เป็นพวกหินกลมมน
หรือเศษหินที่มีเหล็กเคลือบ สีดินเป็นสีน้ำตาลอ่อน สีเหลืองหรือสีแดง
ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ pH ประมาณ 4.5-5.5
การใช้ประโยชน์ : ยางพารา
มะพร้าว ไม้ผล
ปัญหา : เป็นดินตื้น มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ในที่ลาดชันสูงจะมีปัญหาการชะล้างพังทะลายของหน้าดินได้ง่าย
ชุดดิน: ชุมพร คลองชาก หาดใหญ่ เขาขาด
หนองคล้า ท่าฉาง ยะลา หรือดินคล้ายอื่นๆ |
|
|
กลุ่มชุดดินที่ 46
ลักษณะดิน : เกิดจากตะกอนลำน้ำ
หรือวัตถุต้นกำเนิดที่ผุพังสลายตัวอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อละเอียดของพวกหินตะกอน
หรือหินภูเขาไฟ เป็นดินตื้นมาก มีการระบายน้ำดี เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวปนกรวด
ลูกรัง หรือเศษหินที่มีเหล็กเคลือบ พบภายในความลึก 50 ซม. สีดินเป็นสีน้ำตาล
เหลืองหรือแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ pH ประมาณ 5.0-6.5
การใช้ประโยชน์ : มันสำปะหลัง อ้อย ปอ
ปัญหา : เป็นดินตื้น มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ในที่ลาดชันสูงจะมีปัญหาการชะล้างพังทะลายของหน้าดินได้ง่าย
ชุดดิน: เชียงคาน กบินทร์บุรี
สุรินทร์ โป่งตอง หรือดินคล้ายอื่นๆ |
|
|
กลุ่มชุดดินที่ 47
ลักษณะดิน : เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่
หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของวัสดุเนื้อละเอียดที่มาจากทั้งหินตะกอน
หรือหินอัคนี เป็นดินตื้น มีการระบายน้ำดี เนื้อดินเป็นดินเหนียวหรือดินร่วนที่มีเศษหินปะปนมาก
มักพบชั้นหินพื้นตื้นกว่า 50 ซม. สีดินเป็นสีน้ำตาล เหลืองหรือแดง
ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ-ปานกลาง pH ประมาณ 5.5-7.0
การใช้ประโยชน์ : ป่าเต็งรัง/ไร่เลื่อนลอย
ปัญหา : เป็นดินตื้น มีเศษหินปนอยู่ในเนื้อดินมาก
ในที่ลาดชันสูงจะมีปัญหาการชะล้างพังทะลายของหน้าดินได้ง่าย
ชุดดิน: ลี้ มวกเหล็ก ท่าลี่
นครสวรรค์ โป่งน้ำร้อน สบปราบ หรือดินคล้ายอื่นๆ |
|
|
กลุ่มชุดดินที่ 48
ลักษณะดิน : เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำ
หรือจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของวัสดุเนื้อค่อนข้างหยาบ
ที่มาจากหินตะกอน หรือหินแปร เป็นดินตื้น มีการระบายน้ำดี เนื้อดินบนส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย
ส่วนดินล่างเป็นดินปนเศษหินหรือปนกรวด กรวดส่วนใหญ่เป็นหินกลมมน หรือเศษหินต่างๆ
ถ้าเป็นดินปนเศษหิน มักพบชั้นหินพื้นตื้นกว่า 50 ซม. สีดินเป็นสีน้ำตาล
เหลืองหรือแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ-ปานกลาง pH ประมาณ 5.5-6.0
การใช้ประโยชน์ : ป่าเต็งรัง/ปลูกไม้โตเร็ว
ปัญหา : เป็นดินตื้น มีเศษหินปนอยู่ในเนื้อดินมาก
ในที่ลาดชันสูงจะมีปัญหาการชะล้างพังทะลายของหน้าดินได้ง่าย
ชุดดิน: ท่ายาง แม่ริม พะเยา
น้ำชุน หรือดินคล้ายอื่นๆ |
|
|
กลุ่มชุดดินที่ 49
ลักษณะดิน : เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำ
หรือจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาทับถมในระยะทางไม่ไกลนักของวัสดุเนื้อค่อนข้างหยาบ
วางทับอยู่บนชั้นดินที่เกิดจากการสลายตัวผุพังของหินพื้นหรือจากวัตถุต้นกำเนิดดินที่ต่างชนิดต่างยุคกัน
พบบริเวณที่ดอน เป็นดินตื้นถึงตื้นมากถึงชั้นลูกรัง มีการระบายน้ำดีปานกลาง
เนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนดินล่างเป็นดินเหนียวปนลูกรังหรือเศษหินทราย
พบในความลึกก่อน 50 ซม. สีดินเป็นสีน้ำตาล เหลืองและก่อนความลึก 100
ซม.จะเป็นชั้นดินเหนียวสีเทา มีจุประสีน้ำตาล สีแดง และมีศิลาแลงอ่อนปนอยู่มาก
อาจพบชั้นหินทรายหรือหินดินดานที่ผุพังสลายตัวแล้วในชั้นถดไป ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
pH ประมาณ 5.0-6.5
การใช้ประโยชน์ : ทุ่งหญ้าธรรมชาติ/ปลูกพืชไร่
ปัญหา : เป็นดินตื้น ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ บางแห่งก้อนศิลาแลงโผล่กระจัดกระจาย
เป็นอุปสรรคต่อการเขตกรรม ในที่ลาดชันสูงจะมีปัญหาการชะล้างพังทะลายของหน้าดินได้ง่าย
ชุดดิน: โพนพิสัย บรบือ สกล
สระแก้ว หรือดินคล้ายอื่นๆ |
|
|
กลุ่มชุดดินที่ 50
ลักษณะดิน : เป็นกลุ่มชุดดินที่พบในเขตฝนชุก
เช่นภาคใต้ ภาคตะวันออก เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของวัสดุเนื้อหยาบที่มาจากหินตะกอน
หรือจากวัตถุต้นกำเนิดพวกตะกอนลำน้ำ เป็นดินลึกปานกลาง มีการระบายน้ำดี
เนื้อดินตอนบน ช่วง 50 ซม. เป็นดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนเหนียวปนทราย
ในระดับความลึก 50-100 ซม. พบชั้นดินปนเศษหินหรือลูกรังปริมาณมาก สีดินเป็นสีน้ำตาล
เหลืองหรือแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ pH ประมาณ 5.0-5.5
การใช้ประโยชน์ : ยางพารา ไม้ผล สับปะรด
ปัญหา : เนื้อดินเป็นทราย ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
ในที่ลาดชันสูงจะมีปัญหาการชะล้างพังทะลายของหน้าดิน
ชุดดิน: สวี พะโต๊ะ หรือดินคล้ายอื่นๆ |
|
|
|