|
กลุ่มชุดดินที่
1
ลักษณะดิน : เกิดจากตะกอนน้ำ บริเวณเทือกเขาหินปูนหรือหินภูเขาไฟ
ลักษณะดินเป็นดินลึก มีการระบายน้ำเลวหรือค่อนข้างเลว เนื้อดินเป็นดินเหนียวจัด
หน้าดินแตกเป็นร่องลึกในฤดูแล้ง มักพบรอยไถลในดิน สีดินส่วนมากเป็นสีดำหรือสีเทาแก่
มีจุดประสีแดง เหลือง อาจพบจุดประสีแดงบ้าง ชั้นดินล่างมักมีก้อนปูนปะปน
pH ประมาณ 6.5-8.0 มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง
ปัญหา : ดินเหนียวจัด
แตกเป็นร่องลึก ไถพรวนลำบาก และพืชที่ปลูกอาจขาดแคลนน้ำได้ง่ายเมื่อฝนทิ้งช่วงนานกว่าปกติ
ชุดดิน: โคกกระเทียม ช่องแค
บ้านหมี่ วัฒนา บ้านโภชน์ บุรีรัมย์ หรือดินคล้ายอื่นๆ |
|
|
กลุ่มชุดดินที่ 2
ลักษณะดิน : เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนผสมของตะกอนลำน้ำ
และตะกอนน้ำทะเลแล้วพัฒนาในสภาพน้ำกร่อย พบบริเวณชายฝั่งทะเลหรือที่ราบลุ่มภาคกลาง
ดินมีการระบายน้ำเลว เนื้อดินเป็นดินเหนียวจัด สีดินเป้นสีเทาหรือเทาแก่ตลอด
มีจุดประสีน้ำตาล เหลือง หรือแดงปะปน อาจพบผลึกยิปซัมบ้างเล็กน้อย
และพบชั้นดินเหนียวสีเทาที่มีจุดประสีเหลืองของจาโรไซต์ ที่ความลึก
100-150 ซม. ทับอยู่บนชั้นดินเลนตะกอนน้ำทะเลสีเทาปนเขียว ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก
pH ประมาณ 4.5-5.0 มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง
การใช้ประโยชน์ : ทำนา
ปัญหา : ดินเป็นกรดจัดมาก และมีศักยภาพก่อให้เกิดความเป็นกรดของดินเพิ่มขึ้นในดินล่าง
ชุดดิน: อยุธยา บางเขน มหาโพธิ
ท่าขวาง บางน้ำเปรี้ยวหรือดินคล้ายอื่นๆ |
|
|
กลุ่มชุดดินที่ 3
ลักษณะดิน : เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนผสมของตะกอนลำน้ำ
และตะกอนน้ำทะเลแล้วพัฒนาในสภาพน้ำกร่อย พบบริเวณที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเลหรือห่างจากทะเลไม่มานัก
เป็นดินลึก มีการระบายน้ำเลว เนื้อดินเป็นดินเหนียวจัด ดินบนสีดำ ส่วนดินล่างสีเทาหรือน้ำตาลอ่อน
มีจุดประสีเหลืองและน้ำตาลตลอดชั้นดิน บางบริเวณอาจพบจุดประสีแดง หรือพบผลึกยิปซัมบ้าง
ที่ความลึก 100-150 ซม. พบชั้นตะกอนสีเขียวมะกอกและมีเปลือกหอยปะปน
pH ประมาณ 6.5-8.0 ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง
การใช้ประโยชน์ : ทำนา
ปัญหา :บริเวณที่ลุ่มมากๆ จะมีปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝน
ชุดดิน: สมุทรปราการ บางกอก
ฉะเชิงเทรา บางเลน บางแพ หรือดินคล้ายอื่นๆ |
|
|
กลุ่มชุดดินที่ 4
ลักษณะดิน : เกิดจากตะกอนลำน้ำ พบบริเวณที่ราบตะกอนน้ำพา
พื้นที่เป็นที่ราบลุ่มหรือราบเรียบ เป็นดินลึกมีการระบายน้ำเลวหรือค่อนข้างเลว
เนื้อดินเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวจัด สีดำ หรือสีเทาเข้ม ดินล่างสีเทา
น้ำตาล น้ำตาลอ่อน หรือเทาปนเขียวมะกอก มีจุดประสีน้ำตาลปนเหลือง เหลือง
หรือแดง อาจพบก้อนปูน หรือก้อนเคมีสะสมของเหล็กและแมงกานีสในดินล่าง
ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง pH ประมาณ 5.5-6.5 แต่ถ้ามีก้อนปูนปะปน
pH จะอยู่ในช่วง 7.0-8.0
การใช้ประโยชน์ : ทำนา
ปัญหา : บริเวณที่ลุ่มมากๆ จะมีปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝน
ชุดดิน: ราชบุรี สระบุรี ชุมแสง
พิมาย สิงห์บุรี ท่าเรือ บางมูลนาก บางปะอิน ชัยนาท ศรีสงคราม ท่าพล
หรือดินคล้ายอื่นๆ |
|
|
กลุ่มชุดดินที่ 5
ลักษณะดิน : เกิดจากตะกอนลำน้ำ
ในบริเวณพื้นที่ราบตะกอนน้ำพา พื้นที่เป็นที่ราบลุ่มหรือราบเรียบ เป็นดินลึกมีการระบายน้ำเลว
ดินบนเป็นดินร่วนเหนียว หรือดินเหนียว สีเทาแก่ ดินล่างเป้นดินเหนียวสีน้ำตาลอ่อนหรือเทา
มีจุดประสีน้ำตาล เหลือง หรือแดงตลอดชั้นดิน มักพบก้อนเคมีสะสมของเหล็กและแมงกานีสปะปนอยู่
และในดินล่างลึกๆ อาจพบก้อนปูน ความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ-ปานกลาง
pH ประมาณ 5.5-6.5 5 แต่ถ้ามีก้อนปูนปะปน pH จะอยู่ในช่วง 7.0-8.0
การใช้ประโยชน์ : ใช้ทำนา หรือหากมีแหล่งน้ำอาจปลูกพืชไร่พืชผัก
ยาสูบ ในฤดูแล้ง
ปัญหา :
ชุดดิน: หางดง พาน ละงู หรือดินคล้ายอื่นๆ |
|
|
กลุ่มชุดดินที่ 6
ลักษณะดิน : เกิดจากตะกอนลำน้ำ
ในบริเวณพื้นที่ราบตะกอนน้ำพา พื้นที่เป็นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ
เป็นดินลึกมีการระบายน้ำเลวหรือค่อนข้างเลว ดินบนเป็นดินร่วนเหนียว
หรือดินเหนียว สีเทาแก่ ดินล่างเป็นดินเหนียวสีน้ำตาลอ่อนหรือเทา มีจุดประสีน้ำตาล
เหลือง หรือแดงตลอดชั้นดิน บางแห่งมีศิลาแลงอ่อน หรือ ก้อนเคมีสะสมของเหล็กและแมงกานีส
ความอุดมสมบูรณ์ต่ำหรือค่อนข้างต่ำ pH 4.5-5.5
การใช้ประโยชน์ : ใช้ทำนา หรือหากมีแหล่งน้ำอาจปลูกพืชไร่พืชผัก
ยาสูบ ในฤดูแล้ง
ปัญหา : ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
ชุดดิน: บางนารา เชียงราย
สุไหงโกลก คลองขุด มโนรมย์ นครพนม ปากท่อ พะวง พัทลุง สตูล แกลง ท่าศาลา
วังตง หรือดินคล้ายอื่นๆ |
|
|
กลุ่มชุดดินที่ 7
ลักษณะดิน : เกิดจากตะกอนลำน้ำ
ในบริเวณพื้นที่ราบตะกอนน้ำพา พื้นที่เป็นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ
เป็นดินลึกมีการระบายน้ำเลวหรือค่อนข้างเลว ดินบนเป็นดินร่วนเหนียว
หรือดินเหนียว สีเทาแก่ ดินล่างเป็นดินเหนียวสีน้ำตาลอ่อน เทา หรือ
น้ำตาลปนเทา มีจุดประสีน้ำตาล เหลือง หรือแดงตลอดชั้นดิน ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง
pH 6.0-7.0
การใช้ประโยชน์ : ใช้ทำนา หรือหากมีแหล่งน้ำอาจปลูกพืชไร่พืชผัก
ยาสูบ ในฤดูแล้ง
ปัญหา :
ชุดดิน: นครปฐม อุตรดิตถ์
ท่าตูม เดิมบาง สุโขทัย น่าน ระโนด ผักกาด หรือดินคล้ายอื่นๆ |
|
|
กลุ่มชุดดินที่ 8
ลักษณะดิน : เป็นกลุ่มดินที่มีการยกร่อง
เนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินบนมีลักษณะการทับถมเป็นชั้นๆ ของดิน และอินทรียวัตถุ
ที่ได้จากการขุดลอกร่องน้ำ ดินล่างมีสีเทา บางแห่งมีเปลือกหอยปนอยู่
การใช้ประโยชน์ : ดัดแปลงพื้นที่เพื่อปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น
ปัญหา :
ชุดดิน: ดำเนินสะดวก ธนบุรี
สมุทรสงคราม |
|
|
กลุ่มชุดดินที่ 9
ลักษณะดิน : เกิดจากตะกอนผสมของตะกอนลำน้ำ
และตะกอนน้ำทะเลแล้วพัฒนาในสภาพน้ำกร่อย พบในบริเวณที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล
ที่อาจมีน้ำทะเลหรือน้ำกร่อยท่วมเป็นครั้งคราว เป็นดินลึก ระบายน้ำเลว
เนื้อดินเป็นดินเหนียว สีเทา มีจุดประสีเหลืองหรือแดงปะปน พบจุดประสีเหลืองฟางข้าวของจาโรไซต์ในระดับตื้นกว่า
50 ซม. ดินล้างสีเทาปนเขียว มีเศษซากพืชที่กำลังเน่าเปื่อย ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
ปฏิกิริยาดินชั้นบนเป็นกรดจัดมากหรือเป็นกรดรุนแรงมาก pH 4.5 หรือน้อยกว่า
ส่วนดินล่างเป็นดินเลน pH ประมณ 7.0-8.5
การใช้ประโยชน์ : ใช้ทำนา
ปัญหา : ดินเป็นกรดรุนรงมาก และเป็นดินเค็ม
ชุดดิน: ชะอำ หรือดินคล้ายอื่นๆ |
|
|
กลุ่มชุดดินที่ 10
ลักษณะดิน : เกิดจากตะกอนผสมของตะกอนลำน้ำ
และตะกอนน้ำทะเลแล้วพัฒนาในสภาพน้ำกร่อย พบในบริเวณที่ราบลุ่ม ห่างจากทะเลไม่มากนัก
เป็นดินลึก มีการระบายน้ำเลวหรือค่อนข้างเลว เนื้อดินเป็นดินเหนียว
สีดำหรือเทาแก่ ดินล่างสีเทา มีจุดประสีน้ำตาล เหลืองหรือแดงปะปนตลอดชั้นดิน
พบจุดประสีเหลืองฟางข้าวของจาโรไซต์ในระดับตื้นกว่า 50 ซม. ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากหรือเป็นกรดรุนแรงมาก pH น้อยกว่า 4.5
การใช้ประโยชน์ : ใช้ทำนา
ปัญหา : เป็นกรดจัดมาก มักขาคธาตุอาหารพืชพวกไนโตรเจน
และฟอสฟอรัส และมักจะมีอะลุมินั่มและเหล็กเป็นปริมาณมากจนเป็นพิษต่อพืช
จัดเป็นดินเปรี้ยวจัด
ชุดดิน: องครักษ์ มูโนะ เชียรใหญ่
หรือดินคล้ายอื่นๆ |
|
|
|
|