|
กลุ่มชุดดินที่ 31
ลักษณะดิน : เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดที่ผุพังสลายตัวอยู่กับที่
หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อละเอียด
หรือเกิดจากตะกอนน้ำ พบบริเวณที่ดอน ที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดถึงเป็นเนินเขา
เป็นดินลึก มีการระบายน้ำดี-ดีปานกลาง เนื้อดินเป้นพวกดินเหนียว สีน้ำตาล
เหลือง หรือแดง แดง ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง pH 5.5-7.0
การใช้ประโยชน์ : พืชไร่/ไม้ผล
ปัญหา : บริเวณที่ลาดชัน มีโอกาสเกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน
และขาดแคลนน้ำในฤดูเพาะปลูก
ชุดดิน: เลย วังไห หรือดินคล้ายอื่นๆ |
|
|
กลุ่มชุดดินที่ 32
ลักษณะดิน : เป็นกลุ่มชุดดินที่พบในเขตฝนชุก เช่นภาคใต้
ภาคตะวันออก เกิดจากการทับถมของตะกอนลำน้ำ บริเวณสันดินริมน้ำ เป็นดินลึก
มีการระบายน้ำดี-ดีปานกลาง เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนละเอียด หรือดินทรายแป้ง
บางแห่งมีชั้นทรายละเอียดสลับชั้นอยู่ มักพบแร่ไมกาปนอยู่ในเนื้อดิน
สีดินสีน้ำตาลหรือเหลืองปนน้ำตาล อาจมีจุดประสีเหลืองหรือเทาในดินล่าง
ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง-ค่อนข้างต่ำ pH 4.5-5.5
การใช้ประโยชน์ : ปลูกยางพารา
กาแฟ ไม้ผล
ปัญหา : อาจมีปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากน้ำล้นตลิ่งและแช่ขังนาน
ชุดดิน: รือเสาะ ลำแก่น ตาขุน
หรือดินคล้ายอื่นๆ |
|
|
กลุ่มชุดดินที่ 33
ลักษณะดิน : เกิดจากตะกอนลำน้ำ บริเวณสันดินริมน้ำเก่า
เนินตะกอนรูปพัด หรือที่ราบตะกอนน้ำพา เป็นดินลึกมาก มีการระบายน้ำดี-ดีปานกลาง
เนื้อดินเป็นพวกดินทรายแป้งหรือดินร่วนละเอียด สีน้ำตาลหรือน้ำาลปนแดง
ในดินล่างลึกๆ อาจพบจุดประสีเทาและน้ำตาล อาจพบแร่ไมกาหรือก้อนปูนปนอยู่ด้วย
ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง pH 7.0-8.5
การใช้ประโยชน์ : ปลูกพืชไร่
ข้าวโพด อ้อย ฝ้าย ยาสูบ
ปัญหา :
ชุดดิน: ดงยางเอน กำแพงแสน
กำแพงเพชร ลำสนธิ น้ำดุก ธาตุพนม ตะพานหิน หรือดินคล้ายอื่นๆ |
|
|
กลุ่มชุดดินที่ 34
ลักษณะดิน : เป็นกลุ่มชุดดินที่พบในเขตฝนชุก
เช่นภาคใต้ ภาคตะวันออก เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดที่เป็นตะกอนลำน้ำ หรือจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่
หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อหยาบของพวกหินอัคนี
หินตะกอน พบบริเวณทีดอน เป็นดินลึกมาก มีการระบายน้ำดี-ดีปานกลาง เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนละเอียด
ที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย
สีดินสีน้ำตาล เหลืองหรือแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ pH 4.5-5.5
การใช้ประโยชน์ : ยางพารา ไม้ผล พืชไร่บางชนิด
ปัญหา : เนื้อดินเป็นทราย และดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
ในที่ลาดชันสูงจะมีปัญหาการชะล้างพังทะลายของหน้าดิน
ชุดดิน: ฉลอง คลองท่อม ควนกาหลง
คลองนกกระทุง ท่าแซะ ฝั่งแดง ละหาน ท่าแซะ หรือดินคล้ายอื่นๆ |
|
|
กลุ่มชุดดินที่ 35
ลักษณะดิน : เกิดจากตะกอนลำน้ำ หรือวัตถุต้นกำเนิดที่ผุพังสลายตัวอยู่กับที่
หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อหยาบที่ส่วนใหญ่มาจากหินตะกอน
พบบริเวณที่ดอน เป็นดินลึก มีการระบายน้ำดี-ดีปานกลาง เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนละเอียดที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย
ส่วนดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย สีน้ำตาล เหลือง หรือแดง ดินล่างอาจพบจุดประสีต่างๆ
มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ pH 4.5-5.5
การใช้ประโยชน์ :
ปลูกพืชไร่ มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด ถั่ว
ปัญหา : เนื้อดินเป็นทราย และดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ในที่ลาดชันสูงจะมีปัญหาการชะล้างพังทะลายของหน้าดิน
ชุดดิน: มาบบอน โคราช สตึก
วาริน ยโสธร ดอนไร่ ด่านซ้าย หรือดินคล้ายอื่นๆ |
|
|
กลุ่มชุดดินที่ 36
ลักษณะดิน : เกิดจากตะกอนลำน้ำ
หรือวัตถุต้นกำเนิดที่ผุพังสลายตัวอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อหยาบ
พบบริเวณที่ดอน เป็นดินลึก มีการระบายน้ำดี-ดีปานกลาง เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนละเอียดที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วน
ส่วนดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินร่วนเหนียว ดินมีสีน้ำตาล
เหลือง หรือแดง ดินล่างอาจพบจุดประสีต่างๆ มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ
- ปานกลาง pH ดินบนประมาณ 5.0-6.0 ส่วนดินล่างประมาณ 6.0-7.0
การใช้ประโยชน์ : อ้อย ข้าวโพด ถั่ว
ปัญหา : เนื้อดินเป็นทราย อาจขาดน้ำได้ง่าย ในที่ลาดชันสูงจะมีปัญหาการชะล้างพังทะลายของหน้าดิน
ชุดดิน: สีคิ้ว เพชรบูรณ์
ปราณบุรี หรือดินคล้ายอื่นๆ |
|
|
กลุ่มชุดดินที่ 37
ลักษณะดิน : เกิดจากตะกอนลำน้ำ
หรือวัตถุต้นกำเนิดที่ผุพังสลายตัวอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อหยาบ
วางทับอยู่บนชั้นหินผุหรือชั้นดินเหนียว พบบริเวณที่ดอน เป็นดินลึก
มีการระบายน้ำดีปานกลาง เนื้อดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วน ส่วนดินล่างในระดับความลึก
50-100 ซม.เป็นดินเหนียว ดินเหนียวปนเศษหิน หรือเป็นชั้นหินผุ ดินบนมีสีน้ำตาล
ดินล่างน้ำตาลปนเทา บางแห่งมีจุดประสีแดง และมีศิลาแลงอ่อนปนอยู่มาก
มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ pH ประมาณ 4.5-5.5
การใช้ประโยชน์ : ปอ ข้าวโพด ถั่วเขียว แตงโม
ปัญหา : ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ในฤดูฝนดินเปียกแฉะเกินไป
และหน้าดินเป็นทรายหนา
ชุดดิน: นาคู บ่อไทย ทับเสลา
หรือดินคล้ายอื่นๆ |
|
|
กลุ่มชุดดินที่ 38
ลักษณะดิน : เกิดจากตะกอนลำน้ำ
มีลักษณะการทับถมเป็นชั้นๆ ของตะกอนในแต่ละช่วงเวลา พบบนสันดินริมน้ำ
หรือที่ราบตะกอนน้ำพา เป็นดินลึก มีการระบายน้ำดีถึงดีปานกลาง เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนหรือดินร่วนหยาบ
สีน้ำตาลอ่อน อาจพบจุดประสีเทาและสีน้ำตาลในชั้นดินล่าง บางบริเวณพบไมกาและก้อนปูนปะปน
มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง pH ประมาณ 5.5-7.0
การใช้ประโยชน์ : ปลูกผัก ไม้ผล และยาสูบ
ปัญหา : อาจมีน้ำล้นตลิ่งในฤดูฝน
ชุดดิน: ท่าม่วง เชียงใหม่
ชุมพลบุรี ดอนเจดีย์ ไทรงาม หรือดินคล้ายอื่นๆ |
|
|
กลุ่มชุดดินที่ 39
ลักษณะดิน : เป็นกลุ่มชุดดินที่พบในเขตฝนชุก
เช่นภาคใต้ ภาคตะวันออก เกิดจากตะกอนลำน้ำ หรือวัตถุต้นกำเนิดที่ผุพังสลายตัวอยู่กับที่
หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อหยาบของพวกหินอัคนี
หรือหินตะกอน เป็นดินลึก มีการระบายน้ำดี-ดีปานกลาง เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนหยาบ
สีดินเป็นสีน้ำตาล เหลืองหรือแดง อาจพบจุดประสีต่างๆ ในชั้นดินล่าง
ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ pH ประมาณ 4.5-5.5
การใช้ประโยชน์ : ยางพารา ไม้ผล มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน
ปัญหา : เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
ชุดดิน: คอหงส์ นาทวี สะเดา
ทุ่งหว้า หรือดินคล้ายอื่นๆ |
|
|
กลุ่มชุดดินที่ 40
ลักษณะดิน : เกิดจากตะกอนลำน้ำ
หรือวัตถุต้นกำเนิดที่ผุพังสลายตัวอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อหยาบ
ลักษณะดินเป็นดินลึก มีการระบายน้ำดี เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนหยาบ สีดินเป็นสีน้ำตาล
เหลืองหรือแดง อาจพบจุดประสีต่างๆ ในชั้นดินล่าง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
pH ประมาณ 4.5-5.5
การใช้ประโยชน์ : มันสำปะหลัง อ้อย ปอ ข้าวโพด
ปัญหา : เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย เสี่ยงต่อการขาดน้ำง่าย
มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ในที่ลาดชันสูงจะมีปัญหาการชะล้างพังทะลายของหน้าดิน
ชุดดิน: สันป่าตอง ชุมพวง
หุบกระพง ห้วยแถลง ยางตลาด จักราช หรือดินคล้ายอื่นๆ |
|
|
|