|
|
ประเทศไทยได้เริ่มทดลองใช้การจำแนกระบบนี้เป็นครั้งแรกเมื่อระบบนี้มีการแก้ไขครั้งที่
7 (7 th Approximation ) โดยมีเหตุผลดังนี้คือ |
เป็นระบบที่มีขั้นตอนการจำแนกที่สมบูรณ์เช่นเดียวกับการจำแนกพืชและสัตว์
ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ระดับได้แก่ อันดับ (order) อันดับย่อย (suborder)
กลุ่มดินใหญ่ (great group) กลุ่มดินย่อย (subgroup) วงศ์ (family)
และชุดดิน (series)
ชื่อของชุดดินที่จำแนกไว้ตั้งแต่ระดับอันดับ ถึงระดับวงศ์ มีความหมายในตัวเองและบ่งลักษณะที่สำคัญของดินที่ทำการจำแนกไว้
ลักษณะของดินที่ใช้ในการจำแนกแต่ละขั้นตอน กำหนดไว้ค่อนข้างแน่นอน
สามารถวัดและตรวจสอบได้ทั้งในสนาม และในห้องปฏิบัติการ เป็นลักษณะของดินที่ค่อนข้างมั่นคงแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลงง่าย
เป็นระบบการจำแนกดินที่สามารถนำผลของการจำแนกไปใช้ในการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีทางการเกษตรระดับประเทศหรือภูมิภาคได้ดี
โดยเฉพาะการจำแนกดินในระดับวงศ์
เป็นระบบที่มีวัตถุประสงค์กว้าง สามารถวินิจฉัยคุณภาพของดินที่จำแนกไว้ไปใช้ในกิจการได้หลายประเภท
|
|
ลักษณะดินที่พบในประเทศไทยสามารถจำแนกตามระบบอนุกรมวิธานดินได้
9 อันดับด้วยกัน มีรายละเอียดดังนี้ |
|
|
ดินอินทรีย์...ฮิสโทซอลล์ (Histosols) |
|
|
|
ฮิสโทซอลส์ เป็นดินที่มีลักษณะการเกิดและสมบัติโดยทั่วไปแตกต่างจากดินในอันดับอื่นๆ
มาก เนื่องจากเป็นดินที่เกิดจากการทับถมของอินทรียสาร ในสภาพแวดล้อมที่เป็นแอ่งต่ำปิด
มีน้ำขังอย่างต่อเนื่องหรือเกือบต่อเนื่องตลอดเวลา หรืออาจจะเกิดในบริเวณที่สูงชันหรือตามแนวน้ำซับที่มีน้ำพอเพียงที่จะเกิดสภาวะที่สามารถปิดกั้นกิจกรรมของออกซิเจนที่จะเกิดขึ้นกับดิน
ทำให้กระบวนการผุพังเน่าเปื่อยและการเปลี่ยนแปลงเป็นแร่ธาตุของอินทรียวัตถุเกิดขึ้นช้ากว่ากระบวนการสะสมของอินทรียสาร
ซึ่งจะเกิดเป็นชั้นสะสมที่หนา โดยการทับถมจะเกิดขึ้นจากตอนล่างขึ้นมาสู่ตอนบน
ดังนั้นฮิสโทซอลส์จึงเป็นดินที่ไม่ถูกจำกัดโดยสภาพภูมิอากาศหรือชั้นช่วงลึกที่มีอยู่ก่อนแล้ว
แต่จะถูกจำกัดโดยวัตถุต้นกำเนิดของดินซึ่งต้องเป็นวัสดุอินทรีย์เท่านั้น
|
|
|
|
ดินที่มีชั้นดานของเซสควิออกไซด์และฮิวมัส..สปอดโดซอลล์
(Spodosols) |
|
|
|
ลักษณะทั่วไปของดินในอันดับสปอดโดซอลส์ที่รู้จักกันคือ
เป็นดินที่ประกอบด้วยชั้นทรายสีเทาคล้ายเถ้า มีปฏิกิริยาเป็นกรด วางตัวอยู่บนชั้นที่เป็นดินร่วนปนทรายสีคล้ำ
หรือแดงคล้ำ มักพบในบริเวณที่วัตถุต้นกำเนิดเป็นทรายจัด ซึ่งอาจเป็นหาดทรายเก่าของแม่น้ำหรือทะเล
และอาจจะพบได้บ้างในบริเวณที่มีความลาดชันสูง
|
|
|
|
ดินที่มีการผุพังอยู่กับที่สูง...ออกซิซอลล์ (Oxisols) |
|
|
|
ออกซิซอลส์ เป็นดินที่มีการสะสมออกไซด์ของเหล็กและอะลูมินัม
หรือที่เรียกกันว่า
เซสควิออกไซด์ในปริมาณสูง เกิดจากกระบวนการผุพังอยู่กับที่อย่างรุนแรงหรือผ่านกระบวนการเกิดดินมานาน
ลักษณะที่สำคัญของดินในอันดับนี้คือ เป็นดินสีออกแดงจัด เหลือง หรือเทา
เนื้อดินเป็นดินเหนียวค่อนข้างจัดหรือจัด แต่มีโครงสร้างดีมาก ดินมีความร่วนซุยสูง
และมีความสม่ำเสมอภายในหน้าตัดดินมาก กล่าวคือจะมีลักษณะต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันตลอดหน้าตัดดิน
ทำให้การแจกแจงชั้นกำเนิดดินทำได้ยาก ..
|
|
ดินเหนียวสีคล้ำที่ยืด-หดตัว...เวอร์ทิซอลล์ (Vertisols) |
|
|
|
ลักษณะสำคัญของดินในอันดับเวอร์ทิซอลส์นี้คือ
เป็นดินสีคล้ำที่ประกอบด้วยแร่ดินเหนียวที่มีการยืดหดตัวได้สูง เมื่อความชื้นเปลี่ยนแปลง
ซึ่งทำให้เกิดแตกร่องระแหงที่ผิวหน้าในช่วงฤดูแล้ง ภายในดินชั้นล่างจะพบรอยไถล
(slickenside) มีลักษณะผิวหน้าเรียบเป็นมันที่ก้อนดิน อันเนื่องมาจากการยืดและหดตัวของดิน
พอช่วงที่ฝนตกลงมาหน้าดินบนจะเคลื่อนย้ายลงไปตามรอยระแหงที่แตก ทำให้เกิดการผสมกันระหว่างดินบนและดินล่าง
ลักษณะสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือผิวหน้าของสภาพภูมิประเทศในบริเวณที่เป็นดินนี้มักเป็นหลุมตะปุ่มตะป่ำผิวดินไม่เสมอ
และมีโครงสร้างของดินตอนบนเป็นแบบก้อนกลมพรุน ดินอันดับนี้เกิดจากวัตถุทำให้กำเนิดดินที่มีปฏิกิริยาเป็นด่างส่วนใหญ่
จึงมีค่าของ pH สูง หรือเป็นด่างในดินชั้นล่าง โดยทั่วไปไม่ค่อยมีปัญหาทางด้านความอุดมสมบูรณ์
แต่จะมีปัญหาทางกายภาพได้เนื่องจากดินเหนียวเกินไปและการแตกเป็นร่องระแหงที่ผิวหน้าดิน
เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการใช้เครื่องมือกลในสนามในสภาพดินเปียก ..
|
|
ดินที่มีด่างต่ำ...อัลทิซอลล์ (Ultisols) |
|
|
|
อัลทิซอลส์
เป็นดินที่มีลักษณะเด่นที่แสดงให้เห็นว่าดินมีพัฒนาการมานานในสภาพที่วัตถุต้นกำเนิดดินผ่านกระบวนการผุพังอยู่กับที่
การชะล้าง การเคลื่อนย้ายวัสดุต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องยาวนาน ทำให้มีลักษณะการสะสมดินเหนียวที่เด่นชัดในดินล่างและมีความอิ่มตัวด้วยเบสต่ำกว่าร้อยละ
35 และลดลงตามความลึก.. |
|
|
|
ดินทุ่งหญ้า...มอลลิซอลล์ (Mollisols) |
|
|
|
มอลลิซอลส์ เป็นดินที่มีชั้นดินบนหรือผิวดินที่หนา
ออกสีคล้ำจนถึงดำ มีโครงสร้างของดินดี มีอินทรียวัตถุเป็นองค์ประกอบในปริมาณที่สูง
เนื้อดินมีลักษณะร่วนซุย และนุ่มมือเมื่อสัมผัส พบได้ทั้งในพื้นที่ลุ่มและที่ดอน
โดยเฉพาะในบริเวณที่วัตถุต้นกำเนิดดินสามารถสลายตัวให้ธาตุที่เป็นด่างในปริมาณที่สูง
พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้า ภายใต้สภาพอากาศที่มีช่วงแห้งแล้ง ซึ่งไม่ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการชะล้างอย่างต่อเนื่อง
ทำให้ยังคงมีธาตุประจุบวกที่เป็นด่างเหลืออยู่ในหน้าตัดดินได้มาก โดยทั่วไปเป็นดินที่มีพัฒนาการไม่มากนัก
และจัดเป็นดินที่มีศักยภาพทางการเกษตรเกษตรดี ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง
..
|
|
|
|
ดินที่มีด่างสูง...แอลฟิซอลล์ (Alfisols) |
|
|
|
เป็นดินที่มีพัฒนาการปานกลางถึงค่อนข้างดี
มีลักษณะการสะสมดินเหนียวในชั้นดินล่าง ลักษณะทั่วๆไปคล้ายกับดินในอันดับอัลทิซอลส์
(Ultisols) แต่ต่างกันที่แอลฟิซอลส์มีพัฒนาการน้อยกว่า และมีสภาพการชะล้างต่ำกว่าทำให้ธาตุที่เป็นด่างยังคงเหลืออยู่มากในหน้าตัดดิน
โดยเฉพาะในชั้นดินล่าง และมีความอิ่มตัวเบสมากกว่าร้อยละ 35..
|
|
|
|
ดินเริ่มมีพัฒนาการ...อินเซปทิซอลล์ (Inceptisols) |
|
|
|
อินเซปทิซอลส์ เป็นดินที่เพิ่งเริ่มมีพัฒนาการ
มีกระบวนการเปลี่ยนแปลงทั้งทาง
กายภาพและเคมีเกิดขึ้นแล้ว แต่การสะสมต่างๆ ยังไม่มากพอที่จะเกิดเป็นชั้นดินวินิจฉัยเด่นๆ
เหมือนกับดินที่มีพัฒนาการมานาน ในหน้าตัดดินยังคงมีลักษณะตกค้างของวัตถุต้นกำเนิดหลงเหลืออยู่มาก
มักพบในบริเวณที่วัตถุต้นกำเนิดดินมีความคงทนต่อการเปลี่ยนแปลงสูง
หรือสภาพภูมิประเทศมีข้อจำกัดสูงเช่น เป็นที่ชันมากหรือเป็นแอ่งต่ำ
ไม่เสถียรพอที่จะเกิดพัฒนาการของชั้นกำเนิดอย่างต่อเนื่อง ลักษณะหน้าตัดดินเป็นแบบ
Ap-Bw-BC-C, Ap-Bw, Apg-Bwg-BCg-Cg ...
|
|
|
|
ดินแรกเกิด...เอนทิซอลล์ (Entisols) |
|
|
|
เอนทิซอลส์ เป็นดินที่มีลักษณะที่แสดงให้เห็นว่า
ไม่มีพัฒนาการ หรือมีพัฒนาการของชั้นดินเพียงเล็กน้อย ซึ่งอาจเป็นผลมาจากมีเวลาน้อยเกินไปที่จะทำให้เกิดพัฒนาการ
หรืออยู่ในบริเวณสูงชันซึ่งมีกษัยการเกิดอยู่ตลอดเวลา หรืออาจจะอยู่ในบริเวณที่ลุ่มซึ่งได้รับอิทธิพลของการตกตะกอนทับถมในระยะเวลาที่ถี่มากจนไม่สามารถเกิดพัฒนาการของชั้นดินขึ้นได้..
|
|
|
|
บรรณานุกรม... |