Page 89 - E-BOOK
P. 89
Histosols
คำาจำากัดความ (Definition)
กลุ่มดิน Histosols เกิดจากการทับถมและสะสมของวัสดุอินทรีย์จากผิวหน้า สะสมเป็นชั้นหนามากกว่า
หรือเท่ากับ 10 เซนติเมตร อยู่บนชั้นนำ้าแข็ง ชั้นหินแข็ง หรือชิ้นส่วนหยาบที่มีอินทรียวัตถุแทรกอยู่เต็ม และมีวัสดุ
อินทรีย์อยู่ภายในระดับความลึก 40 เซนติเมตร หากพบภายในความลึก 100 เซนติเมตรจากผิวหน้าดิน ต้องมี
ความหนามากกว่า 60 เซนติเมตร ของวัสดุอินทรีย์กลุ่มเส้นใยของพวกมอส (moss) หรือถ้าเป็นวัสดุอินทรีย์
ประเภทอื่นต้องหนามากกว่า 40 เซนติเมตร
การแจกกระจาย (Distribution)
กลุ่มดิน Histosols มีพื้นที่ประมาณ 2,031-2,343 ล้านไร่ พบในพื้นที่ตำ่าในเขตอบอุ่น และในบริเวณ
พื้นที่ภูเขาที่มีอากาศหนาวเย็น สำาหรับในเขตร้อนจะพบพื้นที่เพียง 1 ใน 10 ของพื้นที่ทั่วโลก
ในประเทศไทยกลุ่มดิน Histosols มีเนื้อที่ประมาณ 481,580 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้หรือคาบสมุทรของ
ประเทศไทย (Peninsular Thailand) ในบริเวณอื่นๆ พบว่ามีดินกลุ่มนี้อยู่น้อย เช่น ในบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก
พื้นที่ของกลุ่มดิน Histosols ในจังหวัดนราธิวาสมีอาณาเขตกว้างมากที่สุด อยู่บริเวณด้านตะวันออกของจังหวัด
เลียบตามแนวชายฝั่งทะเล
การกำาเนิด (Formation)
กระบวนการเกิดของ Histosols ในระยะเริ่มแรก เป็นกระบวนการทับถมและสะสมวัสดุอินทรีย์เป็น
ชั้นหนา โดยพืชที่เกิดในนำ้าหรือในที่ที่มีความชื้นสูงเป็นส่วนใหญ่ ชั้นดินอินทรีย์จะเกิดจากตอนล่างและหนาขึ้นเรื่อยๆ
การผุพังเน่าเปื่อยของวัสดุอินทรีย์มีหลายระดับ ถูกควบคุมด้วยอุณหภูมิและการขังนำ้า พบตั้งแต่วัสดุอินทรีย์บางส่วน
ที่สลายตัวได้อย่างสมบูรณ์หรือมีบางส่วนที่สลายตัวช้า เกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อน ซึ่งเมื่อรวมกันขึ้นใหม่ก็จะได้
สารอินทรีย์ที่มีความคงทนมากขึ้นหรือฮิวมัส
87