Page 152 - E-BOOK
P. 152
Vertisols
คำาจำากัดความ (Definition)
กลุ่มดิน Vertisols เป็นดินที่มีแร่ดินเหนียวที่มีการยืดและหดตัวสูงตั้งแต่ผิวดินลงไป เมื่อดินแห้งจะมี
รอยแตกกว้างและลึกเกือบทุกปี ทำาให้มีดินชั้นบนร่วงหล่นลงไปอยู่ในดินชั้นล่าง (cherning) ดินนี้จะพบชั้นวินิจฉัย
vertic ภายในความลึกน้อยกว่า 100 เซนติเมตรจากผิวดิน และมีปริมาณดินเหนียวมากกว่าร้อยละ 30 ตลอดตั้งแต่
ผิวดินจนถึงชั้นวินิจฉัย vertic พบรอยแตกจากการยืดและหดตัวของดินที่ผิวดินหรือใต้ชั้นไถพรวน (หรือมีรอยแตก
กว้างกว่าหรือเท่ากับ 3 เซนติเมตร ถ้าหน้าดินเป็นแผ่นแข็ง)
การแจกกระจาย (Distribution)
กลุ่มดิน Vertisols ครอบคลุมพื้นที่ 2,093 ล้านไร่ ในบริเวณเขตร้อนกึ่งแห้งแล้ง มีปริมาณนำ้าฝนเฉลี่ย
500-1,000 มิลลิเมตรต่อปี พบมากที่ออสเตรเลีย อินเดียและซูดานใต้
ในประเทศไทยกลุ่มดิน Vertisols มีเนื้อที่ประมาณ 2.1 ล้านไร่ แจกกระจายในบริเวณภาคกลางและ
ขอบที่ราบภาคกลาง โดยเฉพาะบริเวณส่วนตำ่าของตะพักลำานำ้าค่อนข้างใหม่ถึงที่ราบนำ้าท่วมถึง โดยพบมากในเขต
จังหวัดสระบุรี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา และเพชรบูรณ์ นอกจากนี้ยังพบในบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในบริเวณจังหวัดบุรีรัมย์ นครราชสีมา อุบลราชธานี และหนองบัวลำาภู
การกำาเนิด (Formation)
กลุ่มดิน Vertisols เกิดจากการผุพังสลายตัวของวัตถุต้นกำาเนิดดินที่มีเบสสูง โดยปกติวัสดุที่กำาลังผุพัง
สลายตัวจากพื้นที่สูง จะถูกเคลื่อนย้ายมาสู่ที่ราบในฤดูนำ้าหลาก ในฤดูแล้งแร่ดินเหนียวกลุ่มสเมกไทต์จะเกิดกระบวน
การตกผลึก เกิดการยืดและหดตัวของดิน ทำาให้เกิดรอยแตกตั้งแต่ผิวดิน ส่งผลให้วัสดุที่อยู่ผิวดินตกลงไป ทำาให้เกิด
พื้นที่ตะปุ่มตะปํ่า (gilgai) ส่วนในดินล่างการยืดหดตัวของดินทำาให้เกิดรอยไถล สังเกตได้โดยพบรอยเฉือนแบบเฉียง
(oblique shear) ในหน้าตัดดิน
150