|
|
|
มนุษย์เริ่มสนใจและศึกษาดินโดยคิดว่า
ดินเป็นแหล่งของธาตุอาหาร ซึ่งเกี่ยวข้องกับเจริญเติบโตของพืชกันมาเป็นเวลานานแล้ว
เริ่มจากในทวีปยุโรป ตั้งแต่สมัยอริสโตเติล
เมื่อประมาณ 300 ปีก่อนคริสตกาล ต่อมาภายหลัง
จึงเกิดแนวความคิดในการมองดินเป็นวัสดุตามธรรมชาติที่แตกต่างไปจากวัสดุชนิดอื่นๆ
และได้มีการศึกษาดินกันอย่างจริงจังในเชิงวิทยาศาสตร์
|
|
|
|
|
|
เราเรียกผู้ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับดินว่า "นักวิทยาศาสตร์ทางดิน"
(soil scientist) |
|
บุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็น
"บิดาแห่งปฐพีวิทยา"
คือ โดคุเชฟ (V.V.
Dokuchaev) ชาวรัสเซีย
ซึ่งได้สร้างผลงานการศึกษาดิน Chernozems
จนเป็นที่ยอมรับว่า เป็นผลงานวิทยาศาสตร์ทางด้านปฐพีวิทยาจริงๆ
เล่มแรกของโลก ต่อมาภายหลังจึงได้มีพัฒนาการของการศึกษาดินในทวีปอเมริกาขึ้น
และเปิดโอกาสให้มีการศึกษาดินอย่างกว้างขวางในภูมิภาคต่างๆ
ทั้งในด้านลักษณะของดินแต่ละชนิด และในด้านความสัมพันธ์ระหว่างดินและพืชมาจนถึงปัจจุบัน
|
|
|
|
การศึกษาเกี่ยวกับดินโดยเฉพาะทางด้านการเกษตร
ในปัจจุบัน มีการแบ่งแนวทางการศึกษาออกเป็น
2 แนวทางหลัก คือ |
|
|
|
1.
ปฐพีวิทยาธรรมชาติ (pedology)
|
|
|
|
|
|
มุ่งเน้น...ศึกษาดินในสภาพที่เป็นวัตถุที่มีอยู่ตามสภาพธรรมชาติ
เพื่อเรียนรู้สมบัติต่างๆ ของดินทั้งสมบัติภายนอกและภายใน
โดยการศึกษาจะเน้นหนักไปทางด้านการเกิดดิน
ปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดการสร้างตัวของดิน
และการแจกแจงชนิดของดิน เพื่อนำมาจัดหมวดหมู่ในระดับต่างๆ
ตามระบบการจำแนกดินที่ใช้ รวมถึงการจัดทำแผนที่แสดงขอบเขตดินของดินชนิดต่างๆ
ในทางภูมิศาสตร์ด้วย
|
|
|
|
|
2.
ปฐพีสัมพันธ์ (edaphology) |
|
|
|
|
|
|
เน้นการศึกษา
ความสัมพันธ์ระหว่างดินกับสิ่งมีชีวิต
โดยเฉพาะพืช
เน้นหนักในด้านสมบัติต่างๆ ของดินที่มีผลต่อการให้ผลผลิตของพืช
ได้แก่ ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
และความสามารถของดินที่จะให้ธาตุอาหารแก่พืช
รวมถึงเคมีฟิสิกส์ แร่วิทยา และกิจกรรมของจุลินทรีย์ต่างๆ
ในดินที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อพืชอีกด้วย
หลักทั่วไปในการคึกษาด้านนี้คือ
การหาวิธีเพิ่มผลผลิตพืชจากดินและที่ดิน
ศึกษาเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ย และการตอบสนองต่อธาตุอาหารในดิน
และการตอบสนองต่อปุ๋ยที่ใส่ลงในดิน
เพื่อให้ดินสามารถเพิ่มผลผลิตของพืชได้มากขึ้น |
|
|
|
|
อ่านต่อ |
|
|
|
|
|
|