การสำรวจดิน
(soil survey) คือการใช้วิธีการศึกษาทางสนาม
และข้อสนเทศจากแหล่งต่างๆ มาประมวลเข้าด้วยกันเพื่อ แจกแจง ให้คำจำกัดความ
และจำแนกชนิดต่างๆ ของดินในบริเวณใดบริเวณหนึ่งและแบ่งขอบเขตของบริเวณที่ดินแตกต่างกันออกเป็นหน่วยดิน
ซึ่งอาจจะเป็นหน่วยเดี่ยว หรือหน่วยผสมบนแผนที่ดิน และแปลความหมายข้อมูลต่างๆ
ที่รวบรวมได้จากการสำรวจ เพื่อวัตถุประสงค์อันเป็นประโยชน์ และการสำรวจดินที่สมบูรณ์จะต้องประกอบด้วยแผนที่ดิน
และรายงานการสำรวจดินที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับชนิด ลักษณะของดิน และการแปลความหมายหน่วยพื้นที่ต่างๆ
ที่ปรากฏอยู่บนแผนที่ดิน
งานสำรวจดินเป็นงานที่ต้องอาศัยหลักวิชาการหลายแขนงทั้งทางด้านปฐพีวิทยา
(soil science) ธรณีวิทยา (geology) และทางด้านภูมิศาสตร์ (geography)
ธรณีสัณฐานวิทยา (geomorphology) อุตุนิยมวิทยา (climatology) ตลอดจนวิชาที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้
เกษตรศาสตร์ และการใช้ประโยชน์ที่ดินต่างๆ เข้ามาใช้ในการศึกษาเพื่ออธิบายถึงลักษณะและคุณสมบัติที่สำคัญของดิน
กำเนิดของดิน และการจำแนกดิน |
หลักในการสำรวจดิน
ประกอบด้วย 4 ประการด้วยกันคือ การตรวจสอบดินในสนาม การวิเคราะห์ตัวอย่างดินในห้องปฏิบัติการ
การทำแผนที่ดิน และการทำรายงานสำรวจดิน |
|
การตรวจสอบดินในสนาม คือการที่นักสำรวจดินออกสำรวจตรวจลักษณะสำคัญของดินในสนาม
เพื่อหาขอบเขตของดินชนิดต่างๆ และเก็บข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ รวมถึงการทำแผนที่ดินจากแผนที่พื้นฐานที่ใช้ในการสำรวจ
การทำคำอธิบายหน้าตัดดิน และการเก็บตัวอย่างดินเพื่อนำมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ |
การวิเคราะห์ดินในห้องปฏิบัติการ
โดยยึดถือตามวิธีการที่เป็นมาตรฐาน มีการวิเคราะห์ทั้งคุณสมบัติทางกายภาพ
เคมี และการวิเคราะห์ทางจุลสัณฐาน |
การทำแผนที่ดิน เป็นกระบวนการที่ต้องใช้ทั้งข้อมูลจากภาคสนาม
ขอบเขตของชนิดดิน และผลการวิเคราะห์ดิน |
การทำรายงานการสำรวจดิน เป็นการประมวลข้อมูลและข้อสนเทศต่างๆ
ที่ได้จากการสำรวจดินในท้องที่หนึ่งๆ ออกมาเป็นรูปเล่ม ตามหัวข้อที่กำหนดไว้
ซึ่งประกอบด้วย |
-
-
-
-
-
-
- |
ความเป็นมาและวัตถุประสงค์
ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับที่ตั้ง อาณาเขต ลักษณะภูมิอากาศ สภาพภูมิประเทศและธรณีวิทยา
พืชพันธุ์ เป็นต้น
ลักษณะและชนิดของดินทั้งหมดที่พบ
รายงานการวินิจฉัยคุณภาพของดิน
สรุปผลและวิจารณ์พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะแนวทางในการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ภาคผนวกแสดงรายละเอียดของคำบรรยายลักษณะดินซึ่งเป็นตัวแทนของดินชนิดต่างๆที่พบ
ตารางแสดงคุณสมบัติทางกายภาพและเคมี
แผนที่ดินพร้อมทั้งรายละเอียดและสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้ในแผนที่ เนื้อที่
และคำอธิบายสัญลักษณ์
|
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการสำรวจดิน |
|
ภาพถ่ายทางอากาศและแผนที่พื้นฐาน
สำหรับศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาพพื้นที่โดยทั่วไป และกำหนดขอบเขตโดยประมาณไว้เพื่อเป็นแนวทางในการเจาะสำรวจในสนามต่อไป
|
เครื่องมือสำหรับขุด ได้แก่ พลั่ว
จอบ สว่านเจาะดินแบบต่างๆ เช่น สว่านใบมีด สำหรับเจาะดินเหนียว สว่านเกลียว
เหมาะสำหรับดินที่มีชั้นดานแข็งมากๆ หรือสว่านแบบท่อ ซึ่งใช้ได้กับดินทั่วไป
|
เครื่องมือที่ใช้ในการทำแผนที่ เช่น
เข็มทิศ เครื่องวัดความลาดชัน เป็นต้น |
อุปกรณ์ในการศึกษาลักษณะดินและเก็บตัวอย่างดิน
เช่น สมุดเทียบสีดิน น้ำยาวัดความเป็นกรดเป็นด่างของดินในสนาม
กรดเกลือสำหรับทดสอบสารพวกคาร์บอเนต แว่นขยาย เทปวัดระยะ กระบอกฉีดน้ำ
มีด ฆ้อนตอกดิน ฆ้อนธรณี ถุงพลาสติกสำหรับเก็บตัวอย่างดิน เป็นต้น |
ข้อสนเทศต่างๆ |
การวินิจฉัยพื้นที่ในการสำรวจและจำแนกดิน |
ในเบื้องต้นของการสำรวจสำรวจพื้นที่เพื่อทำแผนที่ดิน จะต้องมีการวินิจฉัยพื้นที่สำรวจเพื่อกำหนดเป็นหน่วยหรือพื้นที่ออกเป็น
3 ส่วน คือ |
หน่วยจำแนก (classified or taxonomic unit)
เป็นหน่วยที่ระบุชั้นการจำแนกในขั้นการจำแนกดินของระบบการจำแนกระบบใดระบบหนึ่ง
เช่นในระบบของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกาเดิม อาจเป็น กลุ่มดินหลัก (great
soil group) ชุดดิน (soil series) และชนิดดิน (soil type) ส่วนในระบบอนุกรมวิธานดิน
แบ่งเป็น อันดับ (order) อันดับย่อย (suborder) กลุ่มดินใหญ่ (great
group) กลุ่มดินย่อย (subgroup) วงศ์ดิน (family) และชุดดิน (series)
เป็นต้น |
หน่วยไม่จำแนก (unclassified unit)
เป็นพื้นที่ที่ไม่ได้ทำการสำรวจจำแนก
อาจเป็นพื้นที่หวงห้าม พื้นที่อนุรักษ์ พื้นที่อันตราย หรือพื้นที่ที่ยากต่อการเข้าทำการสำรวจ
เช่น ที่ลาดชันเชิงซ้อน (slope complex) เขตทหาร อุทยานแห่งชาติเป็นต้น |
พื้นที่เบ็ดเตล็ด (micellaneous areas)
โดยทั่วไปมักจะหมายถึง พื้นที่ที่แทบจะไม่มีดินและมีพืชพรรณขึ้นเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย
อาจมีสาเหตุมาจากดินถูกกร่อนอย่างรุนแรง สภาพดินไม่เหมาะสมหรือเป็นพื้นที่ที่มีกิจกรรมของมนุษย์
เช่น หาดทราย (beach) ที่ดินร่องลึก (gullied land) ที่ดินหินพื้นโผล่
(rock outcrop) ที่ลุ่มน้ำขัง (swamp) ที่ดินเหมืองแร่ร้าง (abandoned
mine land) เป็นต้น
|
หน่วยแผนที่ |
หมายถึงหน่วยหรือชื่อที่แสดงถึงลักษณะและสมบัติของขอบเขตที่แสดงในแผนที่
ซึ่งอาจแสดง ลักษณะของดิน หรือพื้นที่เบ็ดเตล็ด เป็นหน่วยเดี่ยวหรือปะปนกันก็ได้
แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ |
หน่วยเดี่ยว (consociations)
เป็นหน่วยแผนที่ที่ประกอบด้วยหน่วยจำแนกดินเดี่ยว หรือหน่วยพื้นที่เบ็ดเตล็ด
เป็นส่วนใหญ่ โดยอย่างน้อยที่สุดจะต้องมีปริมาณเนื้อที่มากกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่ที่ปรากฏอยู่บนแผนที่ในแต่ละขอบเขต
|
หน่วยสัมพันธ์ (associations) เป็นหน่วยแผนที่ที่ภายในขอบเขตนั้นๆ
มีดินตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป หรือมีดินกับพื้นที่เบ็ดเตล็ด ซึ่งจะเกิดควบคู่กันเสมอ
และมีความสัมพันธ์กันในทางสภาพพื้นที่ แต่เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องของมาตราส่วนแผนที่จึงไม่สามารถแยกขอบเขตออกจากกันได้
|
หน่วยเชิงซ้อน (complexes) เป็นหน่วยแผนที่ที่ภายในขอบเขตนั้นๆ
มีดินตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป หรือมีดินกับพื้นที่เบ็ดเตล็ดเช่นเดียวกับหน่วยสัมพันธ์แม้ว่ามาตราส่วนของแผนที่จะใหญ่ขึ้น
ก็ยังไม่สามารถแยกขอบเขตขอบเขตของดินหรือพื้นที่เบ็ดเตล็ดเหล่านั้นออกจากันได้
อาจเกิดจากความซับซ้อนของพื้นที่ |
หน่วยศักย์เสมอ (undifferentiated group)
เป็นหน่วยแผนที่ที่ภายในขอบเขตนั้นๆ มีดินตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป แต่ดินทั้งหมดนั้นไม่มีความแตกต่างในเรื่องของการนำไปใช้ประโยชน์และการจัดการดิน
จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแยกขอบเขตออกจากกัน |
ระดับการสำรวจและจำแนกดิน |
เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการนำข้อมูลดินไปใช้มีความแตกต่างกัน
ทำให้การสำรวจ จำแนก และทำแผนที่ดิน มีระดับความหยาบหรือละเอียดแตกต่างกันออกไปหลายระดับ
ตั้งแต่หยาบมากจนถึงละเอียดมาก ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้ |
การสำรวจดินแบบหยาบมากหรือแบบกว้าง (Exploratory
survey)
เป็นการสำรวจดินเพื่อใช้ข้อมูลในการวางแผนระดับภูมิภาคหรือระดับประเทศ
และใช้เป็นแนวทางในการวางแผนศึกษาขั้นละเอียดต่อไป แผนที่ที่ใช้ในการสำรวจในสนามมีมาตราส่วน
1:100,000 ถึง 1:250,000 แผนที่ที่พิมพ์เผยแพร่มีขนาดมาตราส่วน 1:1,000,000
หรือเล็กกว่า ขอบเขตของดินแต่ละหน่วยที่แสดงไว้ในแผนที่ดิน อาศัยการแปลจากรูปถ่ายทางอากาศหรือภาพจากดาวเทียม
โดยใช้ข้อมูลพื้นฐานและปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดดินเป็นแนวทาง
เช่นข้อมูลทางธรณีวิทยา ธรณีสัณฐานวิทยา พืชพรรณและการใช้ประโยชน์ที่ดิน
สภาพภูมิอากาศ ประกอบกับการตรวจสอบดินในสนามเป็นบางจุด โดยทั่วไปจะเป็นไปในแนวตัดขวางกับสภาพพื้นที่และธรณีวิทยา
หน่วยแผนที่ที่แสดงไว้บนแผนที่ดินส่วนใหญ่เป็นหน่วยสัมพันธ์ (association)
อาจมีหน่วยเดี่ยว และหน่วยศักย์เสมอ (undifferentiated group) บ้าง |
การสำรวจดินแบบหยาบ (Reconnaissance survey)
เป็นการสำรวจดินเพื่อใช้ข้อมูลในการวางแผนระดับภาคหรือระดับประเทศ
เพื่อให้ทราบถึงศักยภาพของพื้นที่ในการพัฒนา และใช้เป็นแนวทางในการวางแผนศึกษาขั้นละเอียดต่อไป
แผนที่ที่ใช้ในการสำรวจดินในสนามมีมาตราส่วนอยู่ระหว่าง 1:100,000 ถึง
1:250,000 แผนที่ที่พิมพ์เผยแพร่มีขนาดมาตราส่วนอยู่ระหว่าง 1:100,000
ถึง 1:1,000,000 ขอบเขตของดินอาศัยการแปลจากรูปถ่ายทางอากาศ หรือภาพจากดาวเทียม
ประกอบกับการตรวจสอบดินในสนามในแนวตัดขวางกับสภาพพื้นที่และธรณีวิทยา
โดยปริมาณจุดที่ตรวจสอบดินจะมากกว่าการสำรวจดินแบบหยาบมาก โดยกำหนดไว้ประมาณ
12.5 ตารางกิโลเมตร ต่อ1 จุดตรวจสอบดิน (8000 ไร่/1 จุด) หน่วยแผนที่ที่แสดงไว้บนแผนที่ดินส่วนใหญ่เป็นหน่วยสัมพันธ์
(association) อาจมีหน่วยเชิงซ้อน (complex) หน่วยเดี่ยว และหน่วยศักย์เสมอ
(undifferentiated group) บ้าง |
การสำรวจแบบค่อนข้างหยาบ (Detailed reconnassiance
survey)
เป็นการสำรวจดินเพื่อใช้ข้อมูลในการวางแผนระดับจังหวัดหรือโครงการขนาดใหญ่
เพื่อให้ทราบถึงศักยภาพของพื้นที่ในการพัฒนาเบื้องต้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดพื้นที่ที่จะใช้พัฒนา
หรือเพื่อศึกษาในรายละเอียดต่อไป แผนที่ที่ใช้ในการสำรวจดินในสนามมีมาตราส่วนอยู่ระหว่าง
1:40,000 ถึง 1:100,000 แผนที่ที่พิมพ์เผยแพร่มีขนาดมาตราส่วนอยู่ระหว่าง
1:50,000 ถึง 1:100,000 ขอบเขตของดินอาศัยการแปลจากรูปถ่ายทางอากาศหรือภาพจากดาวเทียม
ประกอบกับการตรวจสอบดินในสนาม โดยกำหนดปริมาณจุดเก็บตัวอย่างไว้ประมาณ
1-2 ตารางกิโลเมตรต่อ 1 จุด (625-1250 ไร่/ 1 จุด) หน่วยแผนที่ที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นหน่วยสัมพันธ์
(association) อาจมีหน่วยเชิงซ้อน (complex) หน่วยเดี่ยว (consociatations)
และหน่วยศักย์เสมอ (undifferentiated group) บ้าง |
การสำรวจแบบค่อนข้างละเอียด
(Semi-Detailed survey)
เป็นการสำรวจดินเพื่อใช้ข้อมูลในการวางแผนระดับอำเภอหรือโครงการขนาดกลาง
เพื่อให้ทราบถึงศักยภาพของพื้นที่ในการพัฒนาและวางแนวทางการปฏิบัติงาน
แผนที่ที่ใช้ในการสำรวจดินในสนามมีมาตราส่วนอยู่ระหว่าง 1:15,000 ถึง
1:50,000 แผนที่ที่พิมพ์เผยแพร่มีขนาดมาตราส่วนอยู่ระหว่าง 1:25,000
ถึง 1:60,000 ขอบเขตของดินอาศัยการแปลจากรูปถ่ายทางอากาศหรือภาพจากดาวเทียม
ประกอบกับการตรวจสอบดินในสนาม โดยกำหนดปริมาณจุดเก็บตัวอย่างไว้ประมาณหนึ่งตารางกิโลเมตรต่อ
4-6 จุดตรวจสอบดิน (100-500 ไร่/1 จุด) หน่วยแผนที่ที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นหน่วยเดี่ยว
(consociation) และหน่วยเชิงซ้อนของประเภทหรือชุดดินคล้าย (phase of
soil series หรือ soil variant) และหน่วยพื้นที่เบ็ดเตล็ด (miscellaneous
area) อาจมีหน่วยสัมพันธ์ (association) และหน่วยศักย์เสมอ ได้บ้าง |
การสำรวจแบบละเอียด (Detailed survey)
เป็นการสำรวจดินในระดับไร่นา หรือในพื้นที่โครงการขนาดเล็กที่ต้องการการพัฒนาอย่างปราณีต
สามารถจัดทำแผนการจัดการที่ดิน ที่สามารถนำไปปฏิบัติจริงในพื้นทีได้
จึงจำเป็นต้องมีการบันทึกข้อมูลที่ค่อนข้างละเอียดกว่าระดับอื่นๆ ที่ผ่านมาและต้องมีการตรวจสอบขอบเขตของดินให้มีความถูกต้องมาก
แผนที่ที่ใช้ในการสำรวจดินในสนามมีมาตราส่วนอยู่ระหว่าง 1:10,000 ถึง
1:30,000 แผนที่ที่พิมพ์เผยแพร่มีขนาดมาตราส่วนอยู่ระหว่าง 1:10,000
ถึง 1:30,000 หรือมาตราส่วนใหญ่กว่า ขอบเขตของดินจะเน้นการตรวจสอบดินในสนามให้มากขึ้น
แต่จะอาศัยรูปถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียมในการเขียนขอบเขตดิน ระยะในการตรวจสอบดินไม่ควรห่างกันเกิน
250 เมตร/1 จุด (50-80 ไร่/ 1 จุด) หน่วยแผนที่ที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นหน่วยเดี่ยวโดยเป็นประเภทของชุดดินหรือดดินคล้าย
(phase of series หรือ soil variants) และหน่วยพื้นที่เบ็ดเตล็ด อาจมีหน่วยเชิงซ้อนบ้างเล็กน้อย |
การสำรวจแบบละเอียดมาก (Very detailed survey)
เป็นการสำรวจดินในพื้นที่ที่ใช้ทำการศึกษาวิจัย
การทำแปลงทดลองที่ต้องการข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ และมีความละเอียดเป็นพิเศษ
และจำเป็นต้องมีการเก็บตัวอย่างดินวิเคราะห์ด้วย แผนที่ที่ใช้ในการสำรวจดินในสนามมีมาตราส่วนอยู่ระหว่าง
1:2,000 ถึง 1:10,000 แผนที่ที่พิมพ์เผยแพร่มีขนาดมาตราส่วนอยู่ระหว่าง
1:5,000 ถึง 1:10,000 หรือมาตราส่วนใหญ่กว่า ขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ที่ทำการสำรวจ
ขอบเขตของดินจะเน้นการตรวจสอบดินในสนามให้มากขึ้น แต่จะอาศัยรูปถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียมในการเขียนขอบเขตดิน
ระยะในการตรวจสอบดินไม่ควรห่างกันเกิน 100 เมตร/1 จุด (3-10 ไร่/ 1
จุด) หน่วยแผนที่ที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นหน่วยเดี่ยวโดยเป็นประเภทของชุดดินหรือดดินคล้าย
(phase of series หรือ soil variants) และหน่วยพื้นที่เบ็ดเตล็ด
|