Page 68 - E-BOOK
P. 68

Fluvisols













            คำาจำากัดความ (Definition)


                     กลุ่มดิน Fluvisols เป็นกลุ่มดินที่มีวัสดุ fluvic หนา 25 เซนติเมตร และพบภายใน 50 เซนติเมตรจากผิวดิน
            และไม่พบชั้นวินิจฉัยอื่นๆ นอกจากชั้นวินิจฉัย histic mollic ochric umbric takyric yermic salic และ sulfuric

            หน่วยย่อยของกลุ่มดิน Fluvisols มีดังนี้ Thionic Histic Gelic Salic Gleyic Mollic Umbric Arenic Tephric
            Stagnic Humic Gypsiric Calcaric Takyric Yermic Aridic Skeletic Sodic Dystric Eutric และ Haplic



            การแจกกระจาย (Distribution)


                     ทั่วโลกพบการกระจายตัวของกลุ่มดิน Fluvisols มีพื้นที่ประมาณ 2,188 ล้านไร่ ครึ่งหนึ่งของกลุ่มดิน
            Fluvisols เกิดในเขตร้อน บริเวณที่พบกลุ่มดินนี้ ได้แก่ บริเวณที่ราบนำ้าท่วมถึงริมฝั่งแม่นำ้าหรือทะเลสาบ บริเวณ

            ปากแม่นำ้า และบริเวณที่มีการทับถมของตะกอนทะเล ในพื้นที่ลุ่มตำ่าของชายฝั่งทะเล มักจะพบดินในกลุ่ม Fluvisols
            ร่วมกับกลุ่มดิน Histosols และ Gleysols

                     ในประเทศไทยพบกลุ่มดิน Fluvisols ครอบคลุมพื้นที่ 2.9 ล้านไร่ กระจายอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง
            ซึ่งอยู่ใกล้กับแม่นำ้าสายหลัก รวมทั้งบริเวณชายฝั่งทะเลทางภาคใต้ของประเทศ


            การกำาเนิด (Formation)


                     เป็นกลุ่มดินที่พัฒนามาจากการทับถมของตะกอนนำ้าพา ดินเกิดขึ้นเมื่อชั้นของตะกอนนำ้าพาแต่ละชั้น
            มีปริมาณอินทรียวัตถุต่างกัน  สำาหรับบริเวณชายฝั่ง  การทับถมของตะกอนทะเลอาจจะพบวัสดุ  sulfidic

            หรือชั้น sulfuric ซึ่งเมื่อดินแห้งจะเกิดการออกซิไดซ์ ทำาให้เกิดเป็นดินเปรี้ยวได้
                     การเกิดดิน Fluvisols มักเกิดควบคู่ไปกับการเกิดดินกลุ่มอื่นๆ ที่มีการตกตะกอนทับถมโดยอิทธิพลของนำ้า

            เช่น กลุ่มดิน Arenosols Cambisols Gleysols และ Solonchaks และเกิดร่วมกับดินที่มีพัฒนาการตำ่า เช่น
            กลุ่มดิน Leptosols และ Regosols
















                                                                                                      66
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73