Page 23 - E-BOOK
P. 23

Acrisols













              คำาจำากัดความ (Definition)


                       กลุ่มดิน  Acrisols  เป็นดินที่มีชั้นวินิจฉัย  argic  ภายในความลึก  100  เซนติเมตรจากผิวดิน

              ที่มีความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออนน้อยกว่า 24 cmol  kg  clay (แร่ดินเหนียวกิจกรรมตำ่า) และมีค่าความอิ่มตัวเบส
                                                             -1
                                                         c
              น้อยกว่าร้อยละ 50 ในช่วงความลึก 50-100 เซนติเมตรจากผิวดิน

              การแจกกระจาย (Distribution)


                       กลุ่มดิน Acrisols ส่วนใหญ่พบกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ที่มีวัตถุต้นกำาเนิดดินเป็นหินกรด (acid rock)

              ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา ทางตอนใต้ของแอ่งลุ่มนำ้าแอมะซอน (Amazon basin) และ
              พบทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตกของทวีปแอฟริกา เป็นพื้นที่ 625 ล้านไร่ และมักสัมพันธ์กับกลุ่มดิน Nitisols

              Ferralsols Plinthosols Lixisols Arenosols Regosols และ Cambisols
                       ในประเทศไทยกลุ่มดิน Acrisols พบแจกกระจายอยู่ทุกภูมิภาค มีเนื้อที่มากถึง 217 ล้านไร่ หรือ

              ร้อยละ 67.79 ของพื้นที่ทั้งประเทศ แจกกระจายครอบคลุมเกือบทั้งพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
              ภาคตะวันออก และภาคใต้ กลุ่มดิน Acrisols ที่พบมากในประเทศไทย ได้แก่ Clayic Rhodic Acrisols,

              Loamy Haplic Acrisols, Loamy Gleyic Acrisols, Skeletal Skeletic Acrisols และ Loamy Haplic Acrisols/
              Clayey Gleyic Acrisols


              การกำาเนิด (Formation)


                       กลุ่มดิน Acrisols เป็นดินมีสีนำ้าตาลปนแดง หรือนำ้าตาลปนเหลือง

              มีการระบายนำ้าดี เป็นดินกรดที่พบในพื้นที่กึ่งร้อนชื้น (humid intertropical region)
              วัตถุกำาเนิดดินเป็นดินเหนียวที่กำาลังผุพังสลายตัวอย่างรุนแรง ส่งผลให้ผิวดิน

              มักมีปริมาณดินเหนียวเหลือน้อยเนื่องจากเกิดการสูญเสียไป กลุ่มดิน Acrisols
              มีชั้นวินิจฉัย argic ที่มีความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออนน้อยกว่า 24 cmol  kg  clay
                                                                           -1
                                                                        c
              มีแร่ดินเหนียวกิจกรรมตำ่า และความอิ่มตัวเบสน้อยกว่าร้อยละ 50 กระบวนการ
              ชะละลายทำาให้เกิดการชะธาตุเบสและเกิดการแตกหักของแร่ดินเหนียวในหน้าตัดดิน

              หลงเหลือ แร่ส่วนใหญ่เป็นแร่ดินเหนียวกิจกรรมตำ่า โดยทั่วไปจะพบกระบวนการ
              ซึมชะของอนุภาคขนาดดินเหนียว (clay eluviation) อยู่ทั่วไป แต่กระบวนการ

              สะสม (illuviation) ที่เด่นชัดพบได้น้อย

                                                                                                        21
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28