Page 9 - E-BOOK
P. 9
8. RSGs ใน WRB ปัจจุบันเป็นตัวแทนของเขตดิน (Major Soil Regions) อยู่แล้ว ในการใช้ประเมินดินของโลก
9. คำาจำากัดความและคำาอธิบายของหน่วยดินเป็นไปทั้งในแนวดิ่ง (vertical) และแนวราบ (lateral)
ซึ่งต้องคำานึงถึงความสัมพันธ์เชิงภูมิลักษณ์ (landscape) ของดิน และลักษณะดินเหล่านี้ด้วย
10. คำาว่า Reference Base นั้นเป็นเชิงสมมติฐานของ WRB โดยกลุ่มดินอ้างอิง (RSGs) ที่คาดว่ามีความ
กว้างขวางพอที่จะใช้ช่วยในการผสมผสานเป็นหนึ่งเดียวและกำาหนดลักษณะหน่วยดินของแต่ละระบบได้
11. กลุ่มดินอ้างอิง (RSGs) ของ WRB ให้ใช้เป็นหน่วยเทียบเคียงระหว่างระบบการจำาแนกดิน รวมทั้ง
ใช้เป็นสื่อกลางในการติดต่อระหว่างประเทศ เพื่อการรวบรวมฐานข้อมูลดิน การสำารวจและติดตามทรัพยากรดิน
ของโลก
12. ชื่อ (Nomenclature) ที่ใช้แยกกลุ่มดิน สามารถใช้ชื่อที่เคยใช้กันอยู่แล้ว หรือสามารถเพิ่มเติมได้
โดยง่ายในภาษาปัจจุบัน เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนเมื่อมีการใช้ในลักษณะแตกต่างกัน
2. ลักษณะเชิงโครงสร้�ง (Structure) ของก�รจำ�แนกดินระบบ WRB
มีการจำาแนก 2 ระดับคือ
ระดับที่ 1 : กลุ่มดินอ้างอิง (Reference Soil Groups, RSGs) มี 32 RSGs ตามลักษณะเด่นของดิน
ที่เป็นผลจากกระบวนการเกิดดินที่สำาคัญ
ระดับที่ 2 : ประกอบด้วย RSGs + Qualifiers (Principal และ Supplementary) โดย Qualifiers
เป็นลักษณะของดินที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นผลจากกระบวนการเกิดดินสำาคัญที่ช่วยขยายลักษณะ RSGs ให้ละเอียดชัดเจนขึ้น
2.1 ระดับการจำาแนกกลุ่มดินอ้างอิง (RSGs)
การจำาแนกดินแบ่งตามชุดของลักษณะที่เป็นเครื่องชี้เอกลักษณ์เด่น เช่น ปัจจัยในการเกิดดิน
หรือกระบวนที่ทำาให้เกิดลักษณะเด่นที่ชัดเจน โดยดินที่มีลักษณะเด่นที่สุดจะถูกแยกออกก่อน ชุดของลักษณะ
ที่เป็นเครื่องชี้เอกลักษณ์เด่น (ตารางที่ 4) ประกอบด้วย 8 ชุดของ 32 RSGs ตามลำาดับจากชัดเจนที่สุดไปหา
ที่แยกยากที่สุด
7