Page 77 - E-BOOK
P. 77
Gleysols
คำาจำากัดความ (Definition)
กลุ่มดิน Gleysols เป็นดินที่อิ่มตัวด้วยนำ้า โดยอิทธิพลของนำ้าใต้ดินเป็นระยะเวลานานเพียงพอที่จะเกิด
สภาพรีดิวซ์ (reducing condition) ทำาให้ดินมีสมบัติ gleyic ที่มีความหนามากกว่าหรือเท่ากับ 25 เซนติเมตร และ
พบภายในความลึก 40 เซนติเมตร จากผิวดิน รวมไปถึงบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากการขึ้น-ลงของนำ้าทะเล กระบวนการ
เหล่านี้ทำาให้เกิดสีแดง สีนำ้าตาล หรือสีเหลือง บริเวณผิวของก้อนอนุภาคดิน และ/หรือ บริเวณชั้นดินบน และจะพบ
สีเทาปนสีนำ้าเงินในก้อนอนุภาคดิน และ/หรือพบในชั้นดินล่าง กลุ่มดิน Gleysols ที่มีชั้นดินวินิจฉัย thionic หรือ
วัสดุ hypersulfidic (acid sulfate soils) สามารถพบได้โดยทั่วไป ซึ่งกระบวนการรีดอกซ์ อาจจะเป็นสาเหตุทำาให้
เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO ) หรือก๊าซมีเทน (CH )
2 4
การแจกกระจาย (Distribution)
ทั่วโลกพบกลุ่มดิน Gleysols มากกว่า 4,500 ล้านไร่ ในทุกสภาพภูมิประเทศ สำาหรับในพื้นที่เขตร้อนพบ
ครอบคลุมพื้นที่ 1 ใน 3 พื้นที่ ส่วนใหญ่กลุ่มดินนี้มีชั้นดิน thionic หรือวัสดุ hypersulfidic พบอยู่ในบริเวณที่ลุ่ม
ชายฝั่งทะเลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศอินโดนีเซีย เวียดนาม และประเทศไทย
ในประเทศไทยพบกลุ่มดิน Gleysols ประมาณ 27 ล้านไร่ พบเป็นบริเวณกว้างขวางที่สุดบริเวณที่ราบ
ภาคกลาง ที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ บริเวณคาบสมุทร และพบบ้างในบางบริเวณที่ราบ
นำ้าท่วมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การกำาเนิด (Formation)
การเกิดกลุ่มดิน Gleysols พัฒนาจากการอิ่มตัวด้วยนำ้า ซึ่งได้รับอิทธิพล
ของนำ้าใต้ดินมาเป็นระยะเวลานานเพียงพอที่จะเกิดสภาพรีดิวซ์ โดยแร่เหล็ก
และแมงกานีสจะถูกรีดิวซ์จากรูป ferric เป็น ferrous ทำาให้ดินมีสีเทาปนนำ้าเงิน
(สภาพการอิ่มตัวด้วยนำ้าแบบถาวร) หากเกิดกระบวนการรีดักชันและออกซิเดชัน
จะทำาให้ดินมีจุดประสีแดงและสีเหลืองเกิดขึ้น
75