Page 140 - E-BOOK
P. 140
Solonchaks
คำาจำากัดความ (Definition)
กลุ่มดิน Solonchaks เป็นกลุ่มดินที่มีความเข้มข้นของ
เกลือที่ละลายนำ้าได้สูงในบางช่วงเวลาของปี พบมากในเขตแห้งแล้ง
ถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล (Saline soils และ Sali-affected soils)
ดินมีชั้นวินิจฉัย Salic ภายในความลึก 50 เซนติเมตรจากผิวดิน
และไม่มีชั้นวินิจฉัย Thionic
การแจกกระจาย (Distribution)
กลุ่มดิน Solonchaks ทั่วโลกพบประมาณ 1,025-2,125
ล้านไร่ เกิดบริเวณที่การระเหยมีค่ามากกว่าปริมาณนำ้าขัง และ
มีระดับนำ้าใต้ดินเคลื่อนย้ายมาใกล้ผิวดินในบางช่วงของปี หรือแบบ
ถาวร พบในบริเวณชายฝั่งทะเล จะได้รับอิทธิพลการล่วงลำ้าของ
นำ้าทะเล พบกระจายเป็นหย่อมๆ ในทะเลทรายของแอฟริกา
แอฟริกาตะวันออก นามีเบีย เอเชียกลาง ออสเตรเลีย
และอเมริกาใต้
ในประเทศไทยพบกลุ่มดิน Solonchaks มีเนื้อที่
ประมาณ 552,892 ไร่ แจกกระจายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ของประเทศไทย พบมากบริเวณจังหวัดนครราชสีมา สกลนคร และ
อุดรธานี รวมถึงบริเวณตามขอบทะเลที่มีอิทธิพลของความเค็ม
การกำาเนิด (Formation)
สภาพภูมิอากาศที่ร้อนและแห้งแล้งทำาให้นำ้าใต้ดินที่มีเกลือละลายอยู่ (เกลือโซเดียม หรือแคลเซียม) ขึ้นมา
สู่ผิวดินโดยการระเหย ถึงแม้ว่าเกลือเหล่านี้อาจจะถูกชะละลายโดยนำ้าฝนหรือระบบชลประทาน แต่การตกตะกอน
ของเกลือจะสามารถเกิดขึ้นได้อีกในฤดูแล้งหรือเมื่อไม่มีระบบชลประทาน
138