ชุดดินวัลเปรียง (Wan Priang series: Wp)

กลุ่มชุดดินที่ 23
การจำแนกดิน Siliceous, isohyperthermic Typic Psammaquents
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำทะเลหรือน้ำกร่อยน้ำพามาทับถมอยู่บนบริเวณที่ราบชายฝั่ง
ทะเล
สภาพพื้นที่ ค่อนข้างราบเรียบ พบบริเวณที่ราบลุ่มระหว่างสันทรายชายทะเล มีความลาดชัน
0-1 %
การระบายน้ำ เลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน หญ้า กก ไม้พุ่มเตี้ย บางแห่งใช้ทำนา
การแพร่กระจาย พบบริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกตอนบนซึ่งเป็นฝั่งทะเลงอก
การจัดเรียงชั้น Apg-ACg-Cg
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนดินเหนียว มีความหนาประมาณ 30 ซม. มีสีน้ำตาลปนเทาหรือสีเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นกลาง (pH 6.5-7.0) ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินทรายหรือดินทรายปนดินร่วน มีสีเทา มีจุดประสีน้ำตาลปนเหลือง สีเหลืองปนน้ำตาลหรือสีเหลืองปนแดง และมีเปลือกหอยภายในความลึก 100 ซม. ปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงด่างปานกลาง (pH 7.0-8.5)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ปานกลาง
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
25-50
ต่ำ
ต่ำ
สูง
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
50-100
ต่ำ
ต่ำ
สูง
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินสมุทรปราการ
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นดินทรายจัดและมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นดินที่ไม่ค่อยเหมาะสมต่อการทำนา เนื่องจากเนื้อดินเป็นดินทรายและมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ความสามารถในการอุ้มน้ำของดินต่ำ ในช่วงฤดูฝนน้ำจะท่วมเป็นเวลานาน แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องนำมาใช้ทำนา จะต้องมีการปรับปรุงบำรุงดินเป็นพิเศษ




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙