ชุดดินวิสัย (Visai series: Vi)

กลุ่มชุดดินที่ 17
การจำแนกดิน Fine-loamy, mixed, semiactive, isohyperthermic Typic Plinthaquults
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำน้ำพามาทับถมอยู่บนตะพักลำน้ำเก่าระดับต่ำ
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 %
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน นาข้าว ยางพารา สวนผลไม้ พืชไร่ ป่าไม้พุ่มเตี้ย
การระบายน้ำ เลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ เร็วถึงปานกลาง
การแพร่กระจาย พบทั่วไปในบริเวณภาคใต้ของประเทศ
การจัดเรียงชั้น Apg-Bg-Btg-Btgv
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย มีสีเข้มของน้ำตาล ปนเทาและทับถมอยู่บนดินที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย มีสีเทาหรือสีเทาอ่อน ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนดินเหนียว มีสีเทา มีจุดประสีน้ำตาล สีเหลือง และสีแดง ตลอดชั้นดิน ศิลาแลงอ่อน (plinthite) จะพบในปริมาณที่มากกว่า 50 % โดยปริมาตร หรือพบต่อเนื่องกันภายในความลึก 150 ซม. จากผิวดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด (pH 4.5-5.5) ตลอดหน้าตัดดิน
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินน้ำกระจาย และชุดดินสะท้อน
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำและดินบนมีเนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย ในช่วงแล้งจะขาดน้ำ และฝนตกมากๆ น้ำจะท่วมเนื่องจากในดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียว
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เนื่องจากดินมีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ และดินบนมีเนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย ในการทำนาจึงจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และช่วยในการ อุ้มน้ำของดินให้มากขึ้น ในบริเวณที่ค่อนข้างราบเรียบใช้ปลูกยางพาราหรือสวนผลไม้ ควรมีการทำร่องเพื่อช่วยให้ดินมีการระบายน้ำดีขึ้น




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙