ชุดดินทุ่งค่าย (Thung Kai series: Tuk)

กลุ่มชุดดินที่ 25
การจำแนกดิน Clayey-skeletal, mixed, active, nonacid, isohyperthermic Aeric
Endoaquepts
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนตะพักลำน้ำใหม่
สภาพพื้นที่ ราบเรียบ มีความลาดชัน 0-1 %
การระบายน้ำ เลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้ามาก
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทุ่งหญ้า ป่าแคระ ทำนา
การแพร่กระจาย ภาคใต้ของประเทศไทย
การจัดเรียงชั้น A-Bc-Bcg
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินตื้น ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วน มีสีน้ำตาล ทับถมอยู่บนดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนปนก้อนกรวด ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นกลาง (pH 6.5-7.0) ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวปนก้อนกรวดมาก มีสีเทา และชั้นล่างถัดไปอาจมีเนื้อดินเป็นดินเป็นดินเหนียวสีเทา มีจุดประสีเหลืองและน้ำตาลในดินชั้นล่างตลอดและมีก้อนหินปูน
ปะปนอยู่ในดิน ปฏิกิริยาดินเป็นด่างเล็กน้อยถึงด่างปานกลาง (pH 8.0-8.5)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ไม่มี
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นดินตื้น
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน บริเวณพื้นที่นี้ควรปล่อยไว้เป็นป่าตามธรรมชาติเนื่องจากเป็นดินตื้น




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙