ชุดดินต้นไทร (Thon Sai series: Ts)

กลุ่มชุดดินที่ 14
การจำแนกดิน Fine-loamy, mixed, semiactive, acid, isohyperthermic Sulfic
Endoaquepts
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำกร่อยพามาทับถมอยู่บนบริเวณที่ราบชายฝั่งทะเล
สภาพพื้นที่ ค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-1 %
การระบายน้ำ เลวมาก
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าเสม็ด กก หญ้า ทำนา
การแพร่กระจาย พบในที่ลุ่มต่ำระหว่างสันทรายเก่าในภาคใต้
การจัดเรียงชั้น Apg-ABg-Bg-Cg
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย มีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด (pH 4.5-5.5) ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียวปนทราย มีสีเทา มีจุดประสีเหลืองหรือสีน้ำตาลปนเหลืองและดินชั้นล่างถัดไประหว่างความลึก 50-100 ซม. จะพบชั้นดินตะกอนน้ำทะเลที่มีสารประกอบซัลไฟด์
อยู่สูง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดปานกลาง (pH 5.5-6.0)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
สูง
ปานกลาง
ต่ำ
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
25-50
สูง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินระแงะ
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน เนื้อดินเป็นดินปนทราย เป็นดินกรดกำมะถันและเกิดความเสียหายจากการถูกน้ำท่วม
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เนื่องจากดินนี้มีความเป็นกรดจัด อันเนื่องมาจากสารประกอบของธาตุกำมะถัน ดังนั้น การใช้ประโยชน์ของที่ดินบริเวณนี้จึงควรมีการจัดการที่ดี โดยป้องกันไม่ให้ดินแห้งเป็นระยะเวลานาน เพื่อป้องกันการเกิดกรดของดินรุนแรงมากขึ้น และมีการชลประทานที่ดีพอเพื่อป้องกันความเสียหายจากการเกิดน้ำท่วม




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙