ชุดดินสัตหีบ (Sattahip series: Sh)

กลุ่มชุดดินที่ 43
การจำแนกดิน Isohyperthermic, coated Typic Quartzipsamments
การกำเนิด เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ/หรือ เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางใกล้ๆ
โดยแรงโน้มถ่วงของโลกของหิน granite
สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 2-5 %
การระบายน้ำ ค่อนข้างมาก
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน เร็ว
การซึมผ่านได้ของน้ำ เร็ว
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ปลูกพืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง อ้อย สับปะรด
และมะพร้าว
การแพร่กระจาย พบทั่วไป ในภาคตะวันออกและภาคใต้
การจัดเรียงชั้น Ap-C
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมาก เนื้อดินเป็นดินทรายหรือดินทรายปนดินร่วนตลอดหน้าตัดดิน มีสีเทาปนชมพู ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง (pH 6.0-7.0) ในดินบน และปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงกรดเล็กน้อย (pH 6.0-6.5) ในดินล่าง ความสามารถในการอุ้มน้ำของดินต่ำ
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินพัทยา และชุดดินบ้านบึง
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดินเป็นทรายจัดและความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำมาก
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยทั่วๆ ไป ไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ปลูกพืชเศรษฐกิจ แต่ถ้าจำเป็นต้องนำมาใช้ ควรเลือกชนิดของพืชที่ปลูก เช่น มะพร้าว สับปะรด หรือทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ในขณะเดียวกันควรมีวิธีการพิเศษเพื่อปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙