ชุดดินทรายขาว (Sai Khao series: Sak)

กลุ่มชุดดินที่ 23
การจำแนกดิน Siliceous, isohyperthermic Humaqueptic Psammaquents
การกำเนิด เกิดจากตะกอนของการกำเนิดที่เป็นหินแกรนิตน้ำพามาทับถมบนตะพักลำน้ำ
เก่าระดับต่ำหรือเนินตะกอนรูปพัด
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 %
การระบายน้ำ เลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้ามาก
การซึมผ่านได้ของน้ำ เร็ว
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นป่าละเมาะ ไม้ส่วนใหญ่เป็นเสม็ด
การแพร่กระจาย พบในบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย บริเวณที่มีหินพื้นเป็นหินแกรนิต
หรือหินแปรในกลุ่มเดียวกัน
การจัดเรียงชั้น Ag-ACg-Cg
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินทรายหยาบปนดินร่วน มีสีน้ำตาล ปนเทาหรือสีเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก (pH 4.5-5.0) ดินล่างเป็นดินทรายหยาบถึงดินทรายหยาบปนดินร่วน มีสีเทา มีจุดประสีเหลืองหรือสีน้ำตาลตลอดชั้นดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรด
ปานกลาง (pH 5.5-6.0)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ไม่มี
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน
1. เป็นดินทรายจัด
2. ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
3. มีน้ำแช่ขังในฤดูฝน
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นดินที่ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกเนื่องจากดินมีเนื้อดินเป็นดินทรายจัด ความสามารถในการอุ้มน้ำของดินต่ำมาก และความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ ควรปล่อยไว้ให้เป็นป่าตามธรรมชาติ แต่ถ้าจำเป็นต้องนำมาใช้ทำนา ต้องมีการปรับปรุงบำรุงดินเป็นกรณีพิเศษ




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙