ชุดดินระแงะ (Rangae series: Ra)

กลุ่มชุดดินที่ 14
การจำแนกดิน Very-fine, mixed, superactive, acid, isohyperthermic Sulfic Endoaquepts
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำกร่อยน้ำพามาทับถมอยู่บนบริเวณที่ราบชายฝั่งทะเล
สภาพพื้นที่ เป็นที่ลุ่มต่ำหรือพื้นที่พรุ มีความลาดชัน 0-1 %
การระบายน้ำ เลวมาก
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยทั่วไปเป็นป่าเสม็ดและมีเฟิร์น กก กระจูด
เป็นไม้พื้นล่าง บางแห่งใช้ทำนาแต่ให้ผลผลิตต่ำ
การแพร่กระจาย พบทั่วไปในพื้นที่ลุ่มต่ำ ตามที่ราบชายฝั่งทะเลของภาคใต้
การจัดเรียงชั้น Apg-Bg-Cg
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วน มีสีดำหรือเทาปนดำ เนื่องจากมีอินทรียวัตถุมาก ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทรายแป้ง สีน้ำตาลปนเทา มีจุดประสีเหลืองและถัดลงไปที่ความลึกตั้งแต่ 50-100 ซม. มีลักษณะเป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงินที่มีสารประกอบกำมะถัน (pyrite: FeS2) มาก ดินนี้มีปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากความเป็นกรดที่รุนแรงนี้เกิดจากการเติมออกซิเจน (oxidized) เข้าไปในสารประกอบกำมะถัน จัดเป็นดินเปรี้ยวจัดที่กำลังมีกรดกำมะถันเกิดขึ้น (actual acid sulfate soil) ดินนี้ไม่มีจุดประสีเหลืองฟางข้าว (jarosite mottles) มี ความสามารถในการอุ้มน้ำดี ดินนี้จะเป็นกรดเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วถ้ามีการทำให้ดินแห้งเป็นระยะเวลานานและติดต่อกันหลายๆ ปี
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ปานกลาง
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
50-100
ปานกลาง
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินมูโน๊ะ และชุดดินต้นไทร
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดินเป็นกรดจัดมาก ธาตุอะลูมิเนียม เหล็กและแมงกานีสถูกละลายออกมามากจนเป็นพิษต่อพืช ธาตุฟอสฟอรัสถูกตรึงพืชดูดไปใช้ไม่ได้ ดินมีโครงสร้างแน่นทึบและมีน้ำแช่ขัง
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ถ้าจะใช้ทำนา สิ่งจำเป็นที่ควรกระทำ คือ ต้องมีการควบคุมน้ำเพื่อป้องกันการเกิดกรดของดิน ต้องมีการจัดการที่เหมาะสมเพื่อลดความเป็นพิษของสารบางอย่าง เช่น เหล็กและซัลเฟอร์ ตลอดจนการใช้ปูนและปุ๋ย ถ้ามีแหล่งน้ำพอและสามารถป้องกันน้ำท่วมได้ อาจยกร่องเพื่อปลูกพืชล้มลุกและผลไม้บางชนิด




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙