ชุดดินพะยอมงาม (Phayom Ngam series: Pym)

กลุ่มชุดดินที่ 25
การจำแนกดิน Fine-loamy, kaolinitic, isohyperthermic Kandic Plinthaquults
การกำเนิด เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ/หรือ เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางใกล้ๆ
โดยแรงโน้มถ่วงของโลกของหิน shale หรือหินในกลุ่ม
สภาพพื้นที่ เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 2-5 %
การระบายน้ำ ค่อนข้างเลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าไม้พุ่มเตี้ย หญ้าคา และสวนยางพารา
การแพร่กระจาย พบในพื้นที่ช่วงติดต่อกับตะกอนลำน้ำเก่าของภาคใต้ของประเทศไทย
การจัดเรียงชั้น Apg-BAg-Btgv-Btcgv-BCg
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินตื้น มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนดินเหนียว มีสี น้ำตาลถึงสีน้ำตาลปนเทา ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวปนก้อนกรวดในปริมาณที่มากกว่า 35 % โดยปริมาตร มีสีเทา มีจุดประสีแดง สีเหลืองและสีน้ำตาลและมีศิลาแลงอ่อน (plinthite) ในปริมาณที่มากกว่า 50 % หรือพบต่อเนื่องกันภายในความลึก 150 ซม. ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด
มากถึงกรดจัด (pH 5.0-5.5)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินกันตัง
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นดินที่พบค่อนข้างสูงและความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นดินที่ไม่ค่อยเหมาะสมต่อการทำนามักขาดแคลนน้ำในช่วงเพาะปลูก เนื่องจากสภาพพื้นที่ค่อนข้างสูงและมีความลาดชันและเหมาะในการปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้ แต่ต้องมีการจัดการในเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของดินและปลูกพืชคลุมดินเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙