ชุดดินสุไหงปาดี (Su-ngai Padi series: Pi)

กลุ่มชุดดินที่ 7
การจำแนกดิน Fine-loamy, siliceous, subactive, isohyperthermic Aeric Paleaquults
การกำเนิด เกิดจากตะกอนของการกำเนิดที่เป็นหิน granite น้ำพามาทับถมอยู่บนเนิน
ตะกอนรูปพัด
สภาพพื้นที่ ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 1-3 %
การระบายน้ำ ค่อนข้างเลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลาง
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้าถึงปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าดงดิบชื้นเขตร้อน ยางพารา สวนปาล์ม และ
สวนผลไม้
การแพร่กระจาย พบในบริเวณที่ลุ่มต่ำ ที่มีการกำเนิดเป็นหิน granite
การจัดเรียงชั้น Ap-Abg-Btcg-BCcg
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย มีสีน้ำตาลหรือสี น้ำตาลปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดปานกลาง (pH 5.5-6.0) ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายปนกรวด มีสีเทา มีจุดประสีน้ำตาล สีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีเหลืองปนน้ำตาล และอาจพบจุดประสีแดงในดินชั้นถัดลงไป ก้อนกรวดที่พบเป็นหินแกรนิต พบในความลึก 50 ซม.จากผิวดิน และพบตลอดชั้นดินในปริมาณที่น้อยกว่า 35 %โดยปริมาตร ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด (pH 5.0-5.5)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินละหาน ชุดดินวิสัย และชุดดินทุ่งหว้า
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำและเป็นดินปนก้อนกรวด
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มักขาดแคลนน้ำในช่วงเพาะปลูกและสภาพพื้นที่เป็นลอน จึงไม่ค่อยเหมาะสมในการทำนา ดังนั้น ในการทำนาจึงจำเป็นต้องมีการใช้ปุ๋ยเคมีและการชลประทานเข้าช่วย แต่ชุดดินนี้พบเป็นบริเวณไม่มากนักจึงไม่คุ้มกับการลงทุน สำหรับการทำสวนยางพารา สวนปาล์ม และสวนผลไม้นั้น จำเป็นต้องมีการทำร่องเพื่อช่วยให้ดินมีการระบายน้ำดีขึ้นและมีการใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙