ชุดดินปะดังเบซาร์ (Padang Besar series: Pad)

กลุ่มชุดดินที่ 53
การจำแนกดิน Coarse-loamy over clayey-skeletal, siliceous over kaolinitic, subactive,
isohyperthermic Typic Paleudults
การกำเนิด เกิดจากตะกอนของการกำเนิดที่เป็นหินแกรนิตน้ำพามาทับถมอยู่บนเนินตะกอน
รูปพัด
สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชัน 3-8 %
การระบายน้ำ ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ดี
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลางถึงเร็ว
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าดงดิบชื้น ยางพาราและป่าแคระ
การแพร่กระจาย ภาคใต้ของประเทศไทย
การจัดเรียงชั้น A-Bw-Bt-Btc
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินตื้นปานกลาง ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย มีสีน้ำตาล ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวปนทรายปนกรวดมาก (ระหว่างความลึก 50-100 ซม.) มีสีน้ำตาลปนแดง ลักษณะของกรวด เป็นลูกรังปะปนกับหินก้อนกลมและหินก้อนเหลี่ยม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดปานกลาง (pH 5.0-6.0)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินหาดใหญ่
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ ดินมีเนื้อดินเป็นดินปนทรายและมีก้อนหินปะปนอยู่ในดินล่าง
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นดินไม่ค่อยเหมาะสมต่อการเพาะปลูก เนื่องจากดินมีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำและดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย ความสามารถในการอุ้มน้ำของดินต่ำ ดังนั้น การใช้ประโยชน์ของพื้นที่ดินบริเวณนี้ ควรมีการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับการปลูกพืชคลุมดิน เพื่อป้องกันการสูญเสียหน้าดินและช่วยรักษาความชื้นในดิน




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙