ชุดดินปากจั่น (Pak Chan series: Pac)

กลุ่มชุดดินที่ 26
การจำแนกดิน Very-fine, kaolinitic, isohyperthermic Typic Palehumults
การกำเนิด เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ/หรือ เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางใกล้ๆ
โดยแรงโน้มถ่วงของโลกของหินดินดานและหินในกลุ่ม
สภาพพื้นที่ เป็นลูกคลื่นลอนลาดถึงเป็นลูกคลื่นลอนชัน มีความลาดชัน 5-20 %
การระบายน้ำ ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลาง
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าดงดิบชื้น สวนผลไม้ ยางพารา
การแพร่กระจาย พบบริเวณชายเนินที่มีหินพื้นเป็นหินดินดาน ภาคใต้ของประเทศไทย
การจัดเรียงชั้น A-Bw-Bt
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนถึงดินร่วนปนดินเหนียว มีสีน้ำตาลปนเทา ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียว มีสีน้ำตาล สีน้ำตาลปนเทา และมีสีปนสีแดงคล้ายจุดประอยู่ทั่วไป (เป็นดินที่มีหลายสีปะปนกัน) ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดปานกลาง (pH 5.0-6.0) ตลอดหน้าตัดดิน
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ปานกลาง
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ปานกลาง
25-50
ปานกลาง
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ปานกลาง
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ปานกลาง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินลำภูรา
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน สภาพพื้นที่ค่อนข้างมีความลาดชันและความอุดมสมบูรณ์ของดินค่อนข้างต่ำ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นดินที่มีความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์สำหรับการทำสวนผลไม้และสวนยางพารา แต่มีข้อจำกัดที่สภาพพื้นที่มีความลาดชัน ทำให้ดินขาดน้ำและมีการชะล้างหน้าดิน จึงควรมีการจัดการที่ดี โดยการปลูกพืชคลุมดินและทำขั้นบันได ตลอดจนมีการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมด้วย ในฤดูแล้งหรือในช่วงที่ฝนทิ้งช่วงนานๆ ควรมีการชลประทานเข้าช่วย




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙