ชุดดินโอลำเจียก (O Lam Chiak series: Oc)

กลุ่มชุดดินที่ 53
การจำแนกดิน Very-fine, mixed, active, isohyperthermic Typic Hapludalfs
การกำเนิด เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ/หรือ เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางใกล้ๆ
โดยแรงโน้มถ่วงของโลกของหินดินดานหรือหินในกลุ่ม
สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดถึงลูกคลื่นลอนชัน มีความลาดชัน 5-20 %
การระบายน้ำ ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ดินปานกลางถึงเร็ว
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าดงดินชื้น ปลูกพืชไร่
การแพร่กระจาย พบในบริเวณภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศ
การจัดเรียงชั้น Ap-Bt -Cr
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกปานกลาง ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนดินเหนียวหรือ
ดินเหนียว มีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงด่างปานกลาง (pH 6.5-8.0) ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียว มีสีแดงปนเหลือง และดินชั้นล่างถัดลงไปเป็นชั้นหินดินดานผุหรือหินในกลุ่ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง (pH 6.0-7.0)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
สูง
สูง
สูง
สูง
ต่ำ
สูง
25-50
ปานกลาง
สูง
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
50-100
สูง
สูง
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินนาทอน
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ความสามารถในการอุ้มน้ำของดินค่อนข้างต่ำและเป็นดินลึกปานกลาง
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นดินที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก แต่ดินนี้มีความสามารถในการอุ้มน้ำค่อนข้างต่ำ ในระยะที่ฝนทิ้งช่วงนานๆ อาจประสบกับภาวะแห้งแล้งได้ จึงควรมีระบบการชลประทานที่ดีพอ




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙