ชุดดินนราธิวาส (Narathiwat series: Nw)

กลุ่มชุดดินที่ 58
การจำแนกดิน Dysic, isohyperthermic Typic Haplofibrists
การกำเนิด เกิดจากการสะสมและสลายตัวผุพังของซากพืช (organic soil material)
สภาพพื้นที่ เป็นแอ่งต่ำที่มีน้ำขังเป็นเวลานานเกือบตลอดทั้งปี มีความลาดชัน 0-1 %
การระบายน้ำ เลวมาก
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้าถึงปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าพรุ และในบริเวณที่ถูกบุกรุกแล้วพืชพรรณที่
ขึ้นจะเป็นป่าเสม็ด กระจูด และเฟิร์นขึ้นอยู่ทั่วไป
การแพร่กระจาย พบมากในจังหวัดนราธิวาสและบางท้องที่ในพัทลุง นครศรีธรรมราช
ชุมพร และตราด
การจัดเรียงชั้น Oig-Oeg-Oig
ลักษณะและสมบัติดิน ดินตอนบนมีอินทรียวัตถุ (peat) ที่มีปริมาณเส้นใยไฟเบอร์มากกว่า75 % ซึ่งเรียกว่า fibric soil material และอาจมีเศษไม้ผุน้อยใหญ่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ชั้นดินนี้จะมีความหนามากกว่า 130 ซม. ส่วนดินชั้นล่างอาจพบดินเลนที่เป็นตะกอนน้ำทะเลสีเทา
ปนน้ำเงินที่มีสารไพไรท์ (FeS2) มากกว่า 2 % หรือมีซัลเฟอร์มากกว่า 0.75 % ถ้าดินบริเวณนี้ถูกระบายน้ำออกไปจนทำให้ดินแห้งเป็นเวลานาน ชั้นอินทรียวัตถุจะติดไฟง่ายและเกิดการยุบตัวทำให้ชั้นดินอินทรีย์บางลง และชั้นดินล่างที่มีสารไพไรท์มากจะถูกเติมออกซิเจนแปรสภาพเป็นกรดกำมะถัน (acid sulfate soil) ซึ่งเป็นกรดอย่างแรงและมีค่าปฏิกิริยาดินที่วัดได้ต่ำกว่า 4.0
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
สูง
สูง
ต่ำ
สูง
สูง
สูง
25-50
สูง
สูง
ต่ำ
สูง
สูง
สูง
50-100
สูง
สูง
ต่ำ
สูง
สูง
สูง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินกาบแดง
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นดินอินทรีย์ที่มีคุณภาพต่ำ ขาดธาตุอาหารพืชต่างๆ อย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งธาตุ K P N Cu B และ Mo ดินเป็นกรดจัด ยากในการใช้เครื่องมือเพื่อการเกษตรกรรม ติดไฟง่ายเมื่อดินแห้ง สภาพพื้นที่เป็นที่ลุ่มต่ำมีน้ำแช่ขังและยากต่อการจัดระบบการควบคุมน้ำ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยทั่วๆ ไป จัดเป็นดินที่มีปัญหา ไม่เหมาะในการที่จะนำมาใช้ปลูกพืชเศรษฐกิจ ถ้านำมาใช้อย่างไม่ถูกต้องจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์อย่างรุนแรง ในปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีการใดที่เหมาะสมในการที่จะนำดินดังกล่าวมาใช้ปลูกพืชเศรษฐกิจ ซึ่งในขณะนี้กำลังศึกษาอยู่




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙