ชุดดินหลังสวน (Lang Suan series: Lan)


กลุ่มชุดดินที่ 43
การจำแนกดิน Coated, isohyperthermic, Typic Quartzipsamments
การกำเนิด เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ/หรือ เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางใกล้ๆ โดยแรงโน้มถ่วงของหินทรายหรือหินในกลุ่มในพื้นที่ที่มีการเกลี่ยผิวแผ่นดินให้ ต่ำลง
สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชัน 2-12 %
การระบายน้ำ ดีมากเกินไป
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน เร็ว
การซึมผ่านได้ของน้ำ เร็ว
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าดิบชื้น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน กาแฟ ไม้ผล
และมะพร้าว
การแพร่กระจาย พบแพร่กระจายทั่วไปในบริเวณพื้นที่ภาคใต้และพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาค
ตะวันออก
การจัดเรียงชั้น Ap-C
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินทรายลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินทรายหรือดินทรายปนดินร่วน มีสีน้ำตาลหรือ
สีน้ำตาลปนเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดปานกลาง (pH 5.0-6.0) ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินทรายหรือ
ดินทรายปนดินร่วน มีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก (pH 4.5-5.0)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินบาเจาะ และชุดดินสัตหีบ
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดินทรายจัด ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และขาดแคลนน้ำ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เหมาะสมดีสำหรับปลูกสับปะรดและทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ไม่ค่อยเหมาะสมสำหรับการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล มีข้อจำกัดที่เป็นดินทรายหนา ความอุดสมบูรณ์ต่ำและขาดแคลนน้ำ เลือกชนิดพืชที่เหมาะสมมาใช้ปลูก ปรับปรุงดินด้วยพืชปุ๋ยสดหรือปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พด.2 ปลูกพืชคลุมดินหรือมีวัสดุคลุม พัฒนาแหล่งน้ำและระบบให้น้ำในแปลงปลูก ไว้ใช้ในช่วงที่พืชขาดน้ำ




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙