ชุดดินคลองขุด (Khlong Khut series: Kut)

กลุ่มชุดดินที่ 6
การจำแนกดิน Fine, kaolinitic, isohyperthermic Kandic Plinthaquults
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนที่ราบชายฝั่งทะเล
สภาพพื้นที่ ราบเรียบ มีความลาดชัน 0-1 %
การระบายน้ำ เลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทำนา
การแพร่กระจาย พบแพร่กระจายในบริเวณพื้นที่ภาคใต้และพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาค ตะวันออก
การจัดเรียงชั้น Ap-Btg-Btgv-BCgv
ลักษณะและสมบัติดิน ดินเหนียวละเอียดลึกมาก ดินบนมีสีดำหนามากกว่า 25 ซม. เนื้อดินเป็นดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียวปนทราย ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก (pH 4.5-5.0) ส่วนดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียว มีสีเทา มีจุดประสีเหลือง สีน้ำตาลและสีแดงตลอดชั้นดิน
มีศิลาแลงอ่อน (plinthite) ในปริมาณที่มากกว่า 50 % โดยปริมาตร หรือพบต่อเนื่องกันภายในความลึก 150 ซม. จาก
ผิวดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด (pH 5.0-5.5)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
สูง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินสตูล และชุดดินแกลง
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เหมาะสมดีสำหรับใช้ทำนา มีข้อจำกัดเล็กน้อยที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ควรมีการปรับปรุงดินด้วยพืชปุ๋ยสดร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พด.2 พัฒนาแหล่งน้ำไว้ใช้ในช่วงที่พืชขาดน้ำ




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙