ชุดดินกาบแดง (Kab Daeng series: Kd)

กลุ่มชุดดินที่ 57
การจำแนกดิน Loamy, mixed, superactive, dysic, isohyperthermic Terric Sulfihemists
การกำเนิด เกิดจากการสะสมและสลายตัวผุพังของซากพืช (Organic Soil Material)
สภาพพื้นที่ ที่ลุ่มต่ำและมีน้ำขังเป็นเวลานาน พบบริเวณขอบพื้นที่พรุ
การระบายน้ำ เลวมาก
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้าถึงปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าเสม็ด หญ้า กก และกระจูด
การแพร่กระจาย พบมากในจังหวัดนราธิวาสและนครศรีธรรมราช
การจัดเรียงชั้น Oe-Oi-Cg
ลักษณะและสมบัติดิน ดินอินทรีย์หนาปานกลาง ดินบนเป็นชั้นวัสดุอินทรียที่ส่วนใหญ่มีการสลายตัวปานกลางถึงสลายตัวดีและชั้นถัดไปการสลายตัวยังไม่มากนัก มีความหนา 40-100 ซม. จากผิวดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก (pH 4.5-5.0) ดินชั้นล่างเป็นดินเลนตะกอนน้ำทะเล มี
สีเทาปนน้ำเงินที่มีสารไพไรท์ (FeS2) มากกว่า 2 % หรือมีซัลเฟอร์ทั้งหมดมากกว่า 0.75 % ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดปานกลาง (pH 4.5-6.0) ชั้นดินนี้เมื่อถูกเติมออกซิเจนจะแปรสภาพเป็นกรดกำมะถัน ทำให้ดินเป็นกรดอย่างรุนแรงและมีค่าปฏิกิริยาดินน้อยกว่า 4.0
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
สูง
สูง
ต่ำ
สูง
สูง
สูง
25-50
สูง
สูง
ต่ำ
สูง
สูง
สูง
50-100
สูง
สูง
ต่ำ
สูง
สูง
สูง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินนราธิวาส
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดินอินทรีย์หนา 40-100 ซม. ที่มีศักยภาพทางการเกษตรต่ำ ขาดธาตุอาหารบางอย่างรุนแรง ดินเป็นกรดจัดมาก สภาพพื้นที่เป็นที่ลุ่มต่ำมีน้ำขังสูงและนานเกือบตลอดปี
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน บริเวณที่ยังคงสภาพเป็นป่า ควรปล่อยไว้เป็นป่าธรรมชาติ หรือปล่อยไว้ให้พืชที่ชอบน้ำขึ้นปกคลุม ปลูกข้าวหรือยกร่องปลูกปาล์มน้ำมัน บริเวณขอบๆ พื้นที่พรุ โดยการปรับสภาพความเป็นกรดของดินด้วยวัสดุปูนร่วมกับปุ๋ยเคมี โดยเฉพาะธาตุอาหารรอง เช่น สังกะสีและโบรอน พัฒนาแหล่งน้ำจืด จัดระบบการให้น้ำและระบายน้ำแยกส่วนกัน




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙