ชุดดินกันตัง (Kantang series: Kat)

กลุ่มชุดดินที่ 25
การจำแนกดิน Clayey-skeletal, kaolinitic, isohyperthermic Typic (Aquic) Plinthudults
การกำเนิด เกิดจากตะกอนของวัตถุต้นกำเนิดที่เป็นหินดินดานหรือหินฟิลไลท์ ในพื้นที่ที่มี การเกลี่ยผิวแผ่นดินให้ต่ำลงหรือบนตะพักลำน้ำเก่า
สภาพพื้นที่ ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 1-5 %
การระบายน้ำ ค่อนข้างเลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลาง
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ส่วนใหญ่ใช้ทำนาและทำร่องระบายน้ำปลูก ยางพารา บางพื้นที่เป็นไม้พุ่มเตี้ยหรือทุ่งหญ้า
การแพร่กระจาย พบในกระจายในพื้นที่ภาคใต้
การจัดเรียงชั้น Ag-Btcg-Btgv
ลักษณะและสมบัติดิน ดินเหนียวละเอียดตื้นถึงชั้นลูกรัง ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย มีสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลปนเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดปานกลาง (pH 4.5-6.0)
ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวปนก้อนกรวด มีสีเทา และพบในปริมาณมากกว่า 35 % โดยปริมาตร ภายในความลึก
50 ซม. และพบศิลาแลงอ่อน (plinthite) ในปริมาณที่มากกว่า 50 % หรือพบต่อเนื่องกันภายในความลึก 150 ซม.
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5-5.5) ตลอดหน้าตัดดิน
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินแกลง และชุดดินพยอมงาม
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดินเหนียวตื้นและมีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ไม่ค่อยเหมาะสมสำหรับทำนา มีข้อจำกัดรุนแรงที่เป็นดินตื้น ความอุดม-สมบูรณ์ต่ำ และขาดแคลนน้ำ ควรมีการปรับปรุงดินด้วยพืชปุ๋ยสดร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พด.2 พัฒนาแหล่งน้ำไว้ใช้ในช่วงที่พืชขาดน้ำ




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙