ชุดดินห้วยโป่ง (Huai Pong series: Hp)

กลุ่มชุดดินที่ 26
การจำแนกดิน Fine, kaolinitic, isohyperthermic Typic Kandiudults
การกำเนิด เกิดจากตะกอนของวัตถุต้นกำเนิดที่เป็นหินแกรนิต น้ำพามาทับถมอยู่บน ตะพักลำน้ำ หรือ เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางใกล้ๆ โดยแรงโน้มถ่วง (พบใน สภาพพื้นที่ที่เป็นหินแกรนิต)
สภาพพื้นที่ ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชัน 1-12 %
การระบายน้ำ ดีถึงดีปานกลาง
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลาง
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นป่าไม้ผสมผลัดใบ ปัจจุบันใช้ปลูกพืชไร่ ปาล์มน้ำมัน ไม้ผล และยางพารา
การแพร่กระจาย พบกระจายทั่วไปในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกและบางส่วนของ ภาคใต้
การจัดเรียงชั้น Ap-BA-Bt
ลักษณะและสมบัติดิน ดินเหนียวละเอียดลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนเหนียวปนทราย มีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง (pH 6.0-7.0) ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายหรือดินเหนียวปนทราย มีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินภูเก็ต และชุดดินพังงา
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ ดินปนทราย สภาพพื้นที่มีความลาดชัน และขาดแคลนน้ำ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เหมาะสมดีสำหรับการปลูกพืชไร่ ยางพารา ปาล์มน้ำมันและสวนผลไม้ มีข้อจำกัดเล็กน้อยที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เนื้อดินเป็นดินปนทรายและสภาพพื้นที่มีความลาดชัน ทำให้หน้าดินง่ายต่อการถูกชะล้างพังทลาย ควรปรับปรุงดินด้วยพืชปุ๋ยสดหรือปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พด.2 มีระบบการอนุรักษ์ดินและน้ำ เช่น ปลูกพืชคลุมดิน ทำแนวคันดิน แนวรั้วหญ้าแฝกหรือฐานหญ้าแฝกเฉพาะต้น พัฒนาแหล่งน้ำและระบบการให้น้ำในแปลงปลูกไว้ใช้ช่วงที่พืชขาดน้ำ




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙