ชุดดินบาเจาะ (Bacho series: Bc)

กลุ่มชุดดินที่ 43
การจำแนกดิน Coated, isohyperthermic, Typic Quartzipsamments
วัตถุต้นกำเนิด หาดทรายหรือสันทราย (beach ridge or sand dune)
สภาพพื้นที่ ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 1-5 %
การระบายน้ำ ค่อนข้างมาก
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ เร็ว
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน มะพร้าว ยางพารา สับปะรด ป่าแคระชายหาด และที่อยู่อาศัย
การแพร่กระจาย พบเป็นแนวขนานกับชายฝั่งทะเล พบมากในภาคใต้ของประเทศและ บางพื้นที่ของพื้นที่ชายฝังทะเลภาคตะวันออก
การจัดเรียงชั้น A-AC-C
ลักษณะและสมบัติดิน ดินทรายลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินทรายหรือดินทรายปนดินร่วน มีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดปานกลาง (pH 5.5-6.0) ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินทรายหรือดินทรายปนดินร่วน มีสีน้ำตาล สีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีเหลืองปนแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.0-6.5) ตลอดหน้าตัดดิน
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินหัวหิน ชุดดินระยอง และชุดดินบ้านทอน
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดินทรายจัด ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และขาดแคลนน้ำ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เหมาะสมปานกลางสำหรับการปลูกมะพร้าว มะม่วงหิมพานต์และสับปะรด มีข้อจำกัดปานกลางที่มีเนื้อดินเป็นดินทรายหนามาก ไม่ค่อยเหมาะสมสำหรับการปลูกไม้ผล มีข้อจำกัดรุนแรงที่มีเนื้อดินเป็นดินทรายหนา ควรมีการปรับปรุงดินด้วยพืชปุ๋ยสดหรือปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พด.2 และปุ๋ยเคมี พัฒนาแหล่งและระบบการให้น้ำในแปลงปลูกพืช เพื่อไว้ใช้ในช่วงที่พืชขาดน้ำ




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙