ชุดดินสุรินทร์ (Surin series: Su)

กลุ่มชุดดินที่ 46
การจำแนกดิน Clayey-skeletal, kaolinitic, isohyperthermic Typic Rhodustalfs
การกำเนิด เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ และ/หรือ เศษหินเชิงเขาของหินบะซอลต์
พบบริเวณที่เหลือค้างจากการกร่อนซอยแบ่งของหินภูเขาไฟ
สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชัน 2-8 %
การระบายน้ำ ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลางถึงเร็ว
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ ป่าเต็งรัง ปลูกพืชไร่
การแพร่กระจาย พบทางด้านใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การจัดเรียงชั้น A-Btc-C
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินตื้นถึงชั้นกรวดลูกรัง ดินบนเป็นดินร่วนหรือดินร่วนเหนียว (ปนกรวด) สีน้ำตาลเข้มหรือสีแดงเข้ม ดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนกรวดหรือดินเหนียวปนกรวด สีน้ำตาลปนแดงเข้มหรือสีแดงเข้มและพบชั้นหินผุของวัตถุต้นกำเนิดดินภายใน 150 ซม. ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง (pH 6.0-7.0) ตลอด
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
สูง
สูง
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
25-50
สูง
สูง
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
50-100
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินกบินทร์บุรี
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ เป็นดินตื้น มีก้อนกรวดลูกรังมากทำให้ขัดขวางการเจริญเติบโตของพืช เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ กรณีที่ใช้ปลูกพืชไร่ ควรเลือกพืชที่มีรากสั้น เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วเขียว และอื่นๆ ส่วนกรณีที่ใช้ปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น ควรขุดหลุมปลูก 75x75x75 ซม. หรือโตกว่า แล้วนำหน้าดินหรือดินจากที่อื่นผสมกับ ปุ๋ยอินทรีย์ใส่ลงในหลุมปลูก ให้ปุ๋ยอินทรีย์ใส่ลงหลุมปลูก ให้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงสภาพทางกายภาพของดิน ตลอดจนจัดหาแหล่งน้ำให้พอเพียง




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙