ชุดดินปากช่อง (Pak Chong series: Pc)
กลุ่มชุดดินที่ 29
การจำแนกดิน Very fine, kaolinitic, isohyperthermic Rhodic Kandiustox
การกำเนิด เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ/หรือ เศษหินเชิงเขาของหินดินดานที่แทรก
กับหินปูนในสภาพภูมิประเทศแบบคาสต์
สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชัน 2-8 %
การระบายน้ำ ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลาง
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ ป่าเบญจพรรณ ปลูกพืชไร่ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง
และถั่วต่างๆ
การแพร่กระจาย ตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การจัดเรียงชั้น Ap-Bt
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทรายแป้ง สีน้ำตาลปนแดงเข้ม ดินล่างเป็นดินเหนียว สีน้ำตาลปนแดงเข้ม สีแดง อาจพบก้อนเหล็กและแมงกานีสสะสมใน ดินล่าง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง (pH 6.0-7.0) ในดินบนและเป็นกรดจัดมากถึงเป็น กรดจัด (pH 4.5-5.5) ในดินล่าง
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
25-50
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินบ้านจ้อง
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ ความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำในฤดูเพาะปลูก
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ควรใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก เพื่อทำให้ดินมีสมบัติทางกายภาพที่ดีขึ้นและเพิ่มแร่ธาตุที่มีประโยชน์ให้แก่พืช




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙