ชุดดินอ้น (On series: On)
กลุ่มชุดดินที่ 25
การจำแนกดิน Loamy-skeletal over fragmental, mixed, subactive, isohyperthermic Aeric
(Plinthic) Epiaquults [Petroferric Epiaquults]
การกำเนิด เกิดจากตะกอนชะมาทับถมอยู่บนส่วนต่ำของพื้นผิวของการเกลี่ยผิวแผ่นดิน
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 %
การระบายน้ำ ค่อนข้างเลวถึงเลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ ใช้ทำนาดำ
การแพร่กระจาย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ
การจัดเรียงชั้น Ap-Btcg-(Bsm)-Cgv
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินตื้นถึงชั้นลูกรัง ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทรายปนดินร่วน สีน้ำตาลปนเทาหรือสีน้ำตาล ดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายปนก้อนกรวดมาก สีเทาอ่อน สีเทาปนชมพู จะพบชั้นลูกรังที่ยึดเกาะกันค่อนข้างแน่นหรืออาจเป็นแผ่นแข็งภายในความลึก 50 ซม. จาก ผิวดิน ใต้ชั้นนี้ลงไปจะพบดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทราย สีขาวหรือสีเทาอ่อน พบจุดประพวกสีแดง สีเหลืองหรือสีน้ำตาลตลอดหน้าตัดดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดปานกลาง (pH 5.5-6.0) ในดินบนและเป็นกรดจัดมาก (pH 4.5-5.0) ในดินล่าง
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินเพ็ญ
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ เป็นดินตื้น ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีชั้นลูกรังที่ยึดเกาะกันค่อนข้างแน่น พบภายใน 50 ซม. จากผิวดิน ทำให้ขัดขวางการเจริญเติบโตของรากพืช
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ควรปรับปรุงบำรุงดินโดยการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสด เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินและทำให้สมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙