ชุดดินด่านขุนทด (Dan Khun Thot series: Dk)

กลุ่มชุดดินที่ 44
การจำแนกดิน Sandy, siliceous, coated, isohyperthermic, Ustic Quartzipsamments
การกำเนิด เกิดจากตะกอนของหินตะกอนเนื้อหยาบชะมาทับถมบนพื้นผิวของการเกลี่ยผิว
แผ่นดิน
สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชัน 2-12 %
การระบายน้ำ ค่อนข้างมาก
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน เร็ว
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ ป่าเต็งรัง ทำไร่มันสำปะหลัง ปอ อ้อย
การแพร่กระจาย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การจัดเรียงชั้น A-C
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึก เนื้อดินเป็นดินทรายปนดินร่วนหรือดินทรายตลอด สีน้ำตาลปนเทา ดินล่างมีสีน้ำตาล น้ำตาลซีดหรือน้ำตาลปนเทา พบจุดประสีเหลืองปนน้ำตาลหรือสีเหลืองลึกกว่า 100 ซม. มีก้อนเหล็กแมงกานีสสะสมในดินชั้นล่าง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 4.5-6.5) ตลอด
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินจันทึก
ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ เนื้อดินเป็นทรายจัด มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำสำหรับพืชในฤดูเพาะปลูกและเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลาย
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ โดยทั่วไปไม่ค่อยเหมาะสมสำหรับปลูกพืชไร่ ควรมีวิธีการจัดการที่เหมาะสมเพื่อปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน ป้องกันการขาดน้ำและการชะล้างพังทลาย การเลือกระยะเวลาปลูกพืชที่เหมาะสม การจัดหาแหล่งน้ำโดยการขุดสระ ใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักและปุ๋ยเคมี เพื่อเพิ่มแร่ธาตุต่างๆ ให้แก่ดินและปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙