ชุดดินจตุรัส (Chatturat series: Ct)
กลุ่มชุดดินที่ 55
การจำแนกดิน Fine, mixed, active isohyperthermic Typic Haplustalfs
การกำเนิด เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ของหินตะกอนเนื้อละเอียดที่มีเนื้อปูนปน เช่น
หินดินดานและหินทรายแป้งที่มีแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นองค์ประกอบสูง
สภาพพื้นที่ ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 1-5 %
การระบายน้ำ ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้าถึงปานกลาง
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ ป่าเบญจพรรณ ปลูกพืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง กล้วย
ข้าวโพดหรือทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์
การแพร่กระจาย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง
การจัดเรียงชั้น A-Bt-Cr
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกปานกลางถึงชั้นหินพื้น ดินบนเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง สี น้ำตาลปนแดง ดินล่างเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทรายแป้ง สีน้ำตาลปนแดงหรือสีแดง ในช่วงความลึก 50-100 ซม. จะพบชั้นหินผุ ถัดจากชั้นหินผุเป็นชั้นหินแข็งซึ่งเป็นหินพื้น ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นด่างปานกลาง (pH 6.5-8.0) ในดินบนและเป็นกรดปานกลางถึงเป็นด่างปานกลาง (pH 6.0-8.0) ในดินล่าง
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ต่ำ
สูง
สูง
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
25-50
ต่ำ
สูง
สูง
ปานกลาง
สูง
ปานกลาง
50-100
ต่ำ
สูง
สูง
สูง
สูง
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินวังสะพุง
ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ สมบัติทางกายภาพของดินไม่ดี ดินค่อนข้างแน่นทึบ โครงสร้างไม่เหมาะสม น้ำซึมผ่านได้ช้า อาจขาดแคลนน้ำได้ในช่วงฤดูเพาะปลูก
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ปลูกพืชไร่ ไม้ยืนต้น ควรปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน เช่น การปรับปรุงโครงสร้างของดิน โดยการไถพรวนที่เหมาะสม เพิ่มอินทรียวัตถุ เนื่องจากสภาพพื้นที่ที่พบดินนี้ส่วนใหญ่อยู่ในเขตแห้งแล้ง ดังนั้นการกำหนดระยะเวลาและชนิดของพืชที่ปลูก ควรทำอย่างรอบคอบ เพื่อหลีกเลี่ยงการขาดแคลนน้ำ ปลูกพืชคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นในดินและป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ปลูกพืชบำรุงดินและปลูกพืชหมุนเวียน




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙