ชุดดินชุมพวง (Chum Phuang series: Cpg)
กลุ่มชุดดินที่ 40
การจำแนกดิน Coarse-loamy, siliceous, isohyperthermic Typic Kandiustults
การกำเนิด เกิดจากตะกอนของหินตะกอนเนื้อหยาบชะมาทับถมบนพื้นผิวของการเกลี่ยผิว
แผ่นดิน
สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชัน 2-12 %
การระบายน้ำ ค่อนข้างมาก
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลาง
การซึมผ่านได้ของน้ำ เร็ว
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าเต็งรัง ปลูกพืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง ปอ ฝ้าย
และไม้ผลบางชนิด เช่น มะม่วง
การแพร่กระจาย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การจัดเรียงชั้น A-(E)-Bt
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมาก ดินบนเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทรายปนดินร่วน สีน้ำตาลปนแดง ดินล่างตอนบนเป็นดินร่วนปนทรายและเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนเหนียวปนทรายในดินล่างตอนล่าง สีแดงหรือสีแดงเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง (pH 5.5-7.0) ในดินบนและเป็นกรดจัดมาก (pH 4.5-5.0) ในดินล่าง
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินยโสธร
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ค่อนข้างเป็นทราย อาจขาดน้ำในช่วงของฤดู การเพาะปลูกทำให้เกิดการชะงักงันของการเจริญเติบโตของพืช
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ควรมีการจัดการดินที่ดีและปรับปรุงดิน โดยใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมัก ใส่เพื่อเพิ่มแร่ธาตุต่างๆ ที่พืชต้องการให้แก่ดิน ทำให้สมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น จัดหาแหล่งน้ำในพื้นที่ให้พอเพียง




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙