ชุดดินบุญฑริก (Bunthrik series: Bt)

กลุ่มชุดดินที่ 17hi หรือ 35b
การจำแนกดิน Fine-loamy, mixed, isohyperthermic Plinthaquic Paleustults
การกำเนิด เกิดจากตะกอนของหินตะกอนเนื้อหยาบชะมาทับถมบนพื้นผิวของการเกลี่ยผิว
แผ่นดิน
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 0-5 %
การระบายน้ำ ดีปานกลางในดินบนและค่อนข้างเลวในดินล่าง
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลางถึงช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ ไม้พุ่มหนามและป่าแดง บางส่วนใช้ทำนา
การแพร่กระจาย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดอุบลราชธานี
การจัดเรียงชั้น A-Bw-Bt-2Btgv
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย สีน้ำตาลปนเทา ถัดลงไปมีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลซีด ดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายหรือดินเหนียวปนทราย สีน้ำตาลถึงสีเทาปนน้ำตาล พบจุดประสีแดงของศิลาแลงอ่อนและพบชั้นดินที่แสดงถึงความไม่ต่อเนื่องทางธรณี ในระดับความลึก 100-150 ซม. ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดปานกลาง (pH 5.0-6.0) ในดินบนและเป็นกรดจัดมาก (pH 4.5-5.0) ในดินล่าง
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินเรณู
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย พืชอาจขาดน้ำในช่วงฤดูเพาะปลูก
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ใช้ทำนา ควรปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินและสมบัติทางกายภาพของดิน โดยการใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสด ควรจัดหาแหล่งน้ำในพื้นที่โดยการขุดสระเพื่อกักเก็บน้ำ




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙