ชุดดินบ้านไผ่ (Ban Phai Series: Bpi)

กลุ่มชุดดินที่ 41
การจำแนกดิน loamy, siliceous, isohyperthermic Arenic Paleustalfs
การกำเนิด เกิดจากตะกอนของหินตะกอนเนื้อหยาบชะมาทับถมอยู่บนพื้นผิวของการ
เกลี่ยผิวแผ่นดิน
สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชัน 2-12 %
การระบายน้ำ ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน เร็วในดินบนและช้าในดินล่าง
การซึมผ่านได้ของน้ำ เร็วถึงปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ ปลูกพืชไร่และไม้ผล
การแพร่กระจาย พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การจัดเรียงชั้น Ap-E-Bt
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วนหรือดินทราย สีน้ำตาลอ่อน ถัดลงไปเป็นดินทรายปนดินร่วน สีเทาปนชมพู ดินล่างเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนเหนียวปนทราย สีน้ำตาลแก่หรือน้ำตาลปนเหลือง มีจุดประสีแดงปนเหลืองหรือสีแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดปานกลาง (pH 5.0-6.0) ตลอด
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกันชุดดิน ชุดดินมหาสารคาม
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีเนื้อดินเป็นดินทรายปนดินร่วนถึงดินร่วนปนทราย
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ เพิ่มอินทรียวัตถุเพื่อปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้น ปลูกพืชทนแล้ง เช่น อ้อยและมันสำปะหลัง




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙