ชุดดินตาคลี (Takhli series: Tk)

กลุ่มชุดดินที่ 52
การจำแนกดิน Loamy-skeletal, carbonatic, isohyperthermic Entic Haplustolls
การกำเนิดเ กิดจากตะกอนน้ำพาทับถมอยู่บนชั้นปูนมาร์ล บริเวณเนินตะกอนรูปพัด
สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด ความลาดชัน 3-12 %
การระบายน้ำ ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้าถึงปานกลาง
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง
พรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าเบญจพรรณ พืชไร่ เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่ว ทานตะวัน หรือไม้ผล เช่น น้อยหน่า ขนุน มะม่วง
การแพร่กระจาย พบมากบริเวณที่สูงตอนกลางของประเทศต่อกับภาคกลาง
การจัดเรียงชั้นดิน Ap(A)-Bw-Ck
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินตื้นถึงชั้นปูนมาร์ลที่พบภายใน 50 ซม.จากผิวดิน ดินบนเป็นดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทรายแป้ง สีดำ สีเทาเข้มมาก สีน้ำตาลปนเทาเข้มมาก หรือสีน้ำตาลเข้มมาก ปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงเป็นด่างปานกลาง (pH 7.0-8.0) ดินล่างเป็นดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง และมีเม็ดปูนปน สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลเข้ม และมีสีขาว
ของผงปูนทุติยภูมิหรือปูนมาร์ล ปฏิกิริยาดินเป็นด่างปานกลาง (pH 8.0) ใต้ชั้นดินลงไปเป็นชั้นปูนมาร์ลสีขาวทั้งที่เป็นเม็ดและที่เชื่อมต่อกันหนาแน่น
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ปานกลาง
สูง
สูง
ปานกลาง
สูง
สูง
25-50
ต่ำ
สูง
สูง
ต่ำ
ปานกลาง
ปานกลาง
50-100
ต่ำ
ปานกลาง
สูง
ต่ำ
ปานกลาง
ปานกลาง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินชัยบาดาล และชุดดินลำนารายณ์
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ ดินตื้นถึงชั้นปูนมาร์ลซึ่งจะมีผลกระทบทางกายภาพและทางเคมีต่อพืช ดินอาจขาดสมดุลธาตุอาหารโยเฉพาะการขาดฟอสฟอรัสและจุลธาตุบางชนิด
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ เพาะปลูกพืชที่มีระบบรากสั้น ได้แก่ พืชไร่ และพืชผัก ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพและเคมีของดินในเบื้องต้นโดยการคลุกเคล้าด้วยอินทรียวัตถุ ใช้ปุ๋ยเคมีโดยเฉพาะฟอสฟอรัสในรูปที่ละลายช้า และให้ จุลธาตุเพิ่มเติมสำหรับพืชบางชนิดเมื่อพืชเริ่มแสดงอาการขาด




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙