ชุดดินโป่งตอง (Pong Tong series: Po)

กลุ่มชุดดินที่ 46
การจำแนกดิน Clayey-skeletal, kaolinitic, isohyperthermic Typic (Kandic) Paleustults
วัตถุต้นกำเนิด เกิดจากการผุพังสลายตัวของหินแกรนิตและหินแกรโนไดโอไลท์เนื้อหยาบ บริเวณภูเขา และรวมถึงที่เกิดจากวัสดุดินหรือหินที่เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางใกล้ๆ โดยแรงโน้มถ่วงบริเวณเชิงเขา
สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงเป็นเนินเขา ความลาดชัน 3-35 %
การระบายน้ำ ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้าถึงเร็ว
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าเบญจพรรณ พืชไร่ เช่น ข้าวโพด ถั่ว
มันสำปะหลัง หรือไม้ผล เช่น ลิ้นจี่ ลำไย มะม่วง
การแพร่กระจาย พบมากบริเวณภาคเหนือตอนบนและด้านตะวันตกของภาค
การจัดเรียงชั้นดิน Ap(A)-Bt
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินตื้นหรือตื้นมากถึงชั้นกรวดเหลี่ยมของแร่ควอตซ์ที่หนาแน่นมาก
ภายในความลึก 50 ซม.จากผิวดิน ปริมาณและขนาดของควอตซ์เหลี่ยมจะเพิ่มมากขึ้นตามความลึก ดินบนเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนดินเหนียว สีน้ำตาลปนเทาเข้มมากหรือสีน้ำตาลปนแดงเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ดินล่างเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทรายปนกรวดเหลี่ยมมาก สีแดงปนเหลืองถึงสีแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5-5.5)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ปานกลาง
ปานกลาง
สูง
ปานกลาง
สูง
ปานกลาง
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินหนองมด
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ ดินมีกรวดเหลี่ยมปะปนอยู่หนาแน่นมาก รากพืชชอนไชได้ยาก ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ พื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ดินจะถูกชะล้างพังทลายได้ง่าย
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ เพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ดินและเพิ่มผลผลิตพืช โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ควรไถพรวนให้ลึกและปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ การปลูกไม้ผลควรเตรียมหลุมดินให้ลึกและกว้าง เพื่อให้รากพืชไชชอนได้ง่ายขึ้น จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสมโดยใช้วิธีพืชหรือวิธีกล หรือทั้งสองวิธีร่วมกัน




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙