ชุดดินเชียงใหม่ (Chiang Mai series: Cm)

กลุ่มชุดดินที่ 38
การจำแนกดิน Coarse-loamy, mixed, superactive, nonacid, isohyperthermic Oxyaquic Ustifluvents
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพาบริเวณสันดินริมน้ำ
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย ความลาดชัน 0-3 %
การระบายน้ำ ดีปานกลาง
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ไม้ผล พืชไร่ พืชผัก และที่อยู่อาศัย
การแพร่กระจาย พบมากในภาคเหนือ
การจัดเรียงชั้นดิน Ap(A)–C
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมาก ที่มีการสลับชั้นของเนื้อดินต่างๆ เนื่องจากการทับถมเป็นประจำ ของตะกอนน้ำพา เมื่อมีน้ำท่วมล้นฝั่ง ดินบนเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายแป้งหรือดินร่วนปนทราย สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง (pH 6.0-7.0) ดินล่างเป็นดินร่วน ปนทราย หรือดินร่วนปนทรายแป้ง สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเหลือง
หรือสีน้ำตาลปนเทา มีจุดประสีน้ำตาลแก่ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 6.0-6.5) ปกติจะพบเกล็ดไมก้าตลอดชั้น
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
25-50
ต่ำ
ปานกลาง
ปานกลาง
สูง
สูง
ปานกลาง
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินท่าม่วง และชุดดินสรรพยา
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ อาจมีน้ำท่วมบ่าและแช่ขังระดับสูงในฤดูฝน
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ หลีกเลี่ยงการปลูกในช่วงกลางฤดูฝนที่มีฝนตกหนักมาก ในพื้นที่ชลประทานและไม่มีปัญหาน้ำท่วมบ่าหรือแช่ขัง อาจปลูกพืชไร่หรือพืชผัก ปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้อินทรียวัตถุ และใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิต




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙