ชุดดินบ้านโภชน์ (Ban Phot series: Bpo)

กลุ่มชุดดินที่ 1
การจำแนกดิน Very-fine, smectitic, isohyperthermic (Chromic) Ustic Epiaquerts
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพาบริเวณที่ราบน้ำท่วม
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ ความลาดชัน 0-1 %
การระบายน้ำ ค่อนข้างเลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ข้าว และปลูกพืชไร่ หรือพืชผัก ก่อนและหลังฤดูฝน
การแพร่กระจาย พบมากบริเวณที่สูงตอนกลางของประเทศ
การจัดเรียงชั้นดิน Apg-Bssg-(Bwg)
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทรายแป้ง สี
เทาเข้มถึงสีน้ำตาลปนเทา มีจุดประสีน้ำตาลแก่หรือสีน้ำตาลปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึง
เป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ดินล่างเป็นดินเหนียว สีน้ำตาลปนเหลืองถึงสีน้ำตาลปนเทา มีจุดประสีน้ำตาลหรือปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นด่างเล็กน้อย (pH 5.5-7.5) ในฤดูแล้งหรือฝนทิ้งช่วงนานๆ ดินจะแห้งและแข็ง แตกระแหงเป็นร่องลึก
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ปานกลาง
สูง
ปานกลาง
ปานกลาง
สูง
ปานกลาง
25-50
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
50-100
ต่ำ
สูง
สูง
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินพิมาย ชุดดินสระบุรี และชุดดินศรีสงคราม
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ เนื้อดินเหนียวจัด เมื่อแห้งจะแข็ง ยากต่อการไถพรวน และแตกระแหง ทำให้รากพืชเสียหาย ดินเปียกจะเหนียวจัด ยากต่อการไถพรวน
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ปรับปรุงโครงสร้างของดินโดยการเพิ่มอินทรียวัตถุ เช่น การไถกลบเศษพืช การใช้ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ไถพรวนในขณะที่ดินมีความชื้นพอเหมาะ ไม่แห้งและเปียกเกินไป จัดหาแหล่งน้ำสำรองไว้ใช้เมื่อฝนทิ้งช่วง เพื่อป้องกันไม่ให้ดินแตกระแหง และทำลายระบบรากของพืช




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙