ชุดดินธัญบุรี (Thanya Buri: Tan)
กลุ่มชุดดินที่ 11
การจำแนกดิน Very-fine, mixed, semiactive, acid, isohyperthermic Sulfic Endoaquepts
การกำเนิด ตะกอนน้ำทะเลผสมกับตะกอนน้ำพา และมีอิทธิพลของน้ำทะเลในบางช่วง
ของรอบปี
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-1 %
การระบายน้ำ เลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
สภาพซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ส่วนใหญ่ใช้ทำนาหว่าน
การแพร่กระจาย บริเวณที่ราบน้ำทะเลเคยท่วมถึง หรือที่ราบลุ่มแม่น้ำที่ขึ้นมาจาก
ที่ราบน้ำทะเลท่วมถึงในเขตที่ราบภาคกลาง
การจัดเรียงชั้นดิน Apg-Bg-Bjg-BCg-Cg
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึก ดินบน เป็นดินเหนียว สีดำ มีจุดประสีน้ำตาลแก่และสีแดงปนเหลือง ในฤดูแล้งหน้าดินจะแตกระแหงเป็นร่องกว้างและลึก ปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมากถึงกรดจัดมาก (pH 4.0-5.0) ดินบนตอนล่างมีสีน้ำตาลปนเทาหรือสีเทาปนน้ำตาล มีจุดประสีเหลืองปนน้ำตาลและเหลืองปนแดง ที่ระดับความลึกตั้งแต่ 50-100 ซม. จะพบจุดประสีเหลืองฟางข้าว และพบรอยไถลและหน้าอัดมัน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมากที่สุดถึงกรดรุนแรงมาก (pH 3.5-4.0) ดินล่างตอนล่างที่ลึกลงไปพบลักษณะของดินเลนสีเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก (pH 4.5)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์

0-25
สูง
สูง
ปานกลาง
ปานกลาง
สูง
สูง
25-50
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
50-100
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินรังสิต ชุดดินองครักษ์ ชุดดินเสนา ชุดดินอยุธยา และชุดดินมหาโพธิ
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ น้ำท่วมลึก 1 เมตร นาน 4-5 เดือน ใช้ทำนาหว่านได้เพียงอย่างเดียว แต่ผลผลิตต่ำ ดินเป็นกรดจัดมาก ธาตุอาหารพืชบางชนิดถูกตรึงไว้ และบางชนิดจะละลายออกมามากเกินไปจนเป็นพิษต่อพืช
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ทำนา ต้องปรับสภาพกรดของดินให้ลดลง เช่น การใส่ปูนมาร์ลแล้วไถคลุกเคล้ากันทิ้งไว้จนถึงฤดูเพาะปลูก ควรปรับปรุงบำรุงดิน โดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี ควบคู่กันเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติทั้งทางกายภาพและทางเคมีของดินให้ดีขึ้น




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙