ชุดดินสมุทรปราการ (Samut Prakan Series: Sm)
กลุ่มชุดดินที่ 3
การจำแนกดิน Fine, mixed, nonacid, isohyperthermic Fluvaquentic Endoaquepts
การกำเนิด ตะกอนทะเลผสมกับตะกอนลำน้ำในพื้นที่ราบลุ่มน้ำขึ้นถึง
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-1 %
การระบายน้ำ เลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
สภาพซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ส่วนใหญ่ใช้ทำนา แต่บริเวณที่มีความเค็มจัดมักปล่อยทิ้งร้างหรือมีเฉพาะพืชทนเค็ม
การแพร่กระจาย ชายฝั่งทะเลในบริเวณที่น้ำทะเลเคยท่วมถึง
การจัดเรียงชั้นดิน Apg-Bg-Cg
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกปานกลาง ดินบนเป็นดินเหนียว สีเทาเข้มหรือสีน้ำตาลปนเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงด่านปานกลาง (pH 6.0-8.0) ดินบนตอนล่าง เป็นดินเหนียวสีเทาหรือสีเทาปนเขียวมะกอก มักพบดินเลนสีเทาปนเขียว ในช่วงความลึกประมาณ 50-125 ซม.
พบจุดประสีน้ำตาลเข้ม น้ำตาลปนเขียวมะกอก และเทาปนเหลืองอยู่ทั่วไปในดินบนและดินล่างตอนบน ส่วนที่ระดับลึกลงไปอาจพบจุดประสีเขียวปนเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงด่านปานกลาง (pH 6.0-8.0) ดินล่างตอนล่างเป็นดินเลนสีเทาปนเขียวอาจพบชั้นทรายและเปลือกหอยในดินล่างปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงด่างปานกลาง (pH 6.0-8.0)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์

0-25
ปานกลาง
สูง
สูง
สูง
สูง
สูง
25-50
ต่ำ
สูง
สูง
สูง
สูง
สูง
50-100
ต่ำ
สูง
สูง
สูง
สูง
สูง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินบางกอก และชุดดินท่าจีน
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ เป็นดินเค็มและอาจถูกน้ำทะเลท่วมถึงในช่วงที่น้ำทะเลขึ้นสูง บางพื้นที่ดินเค็มจัดจนไม่สามารถใช้ปลูกพืชได้ นอกจากใช้เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้งหรือทำนาเกลือ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ต้องจัดการป้องกันน้ำทะเลท่วม โดยการสร้างเขื่อนหรือทำนบกั้นและปรับปรุงคุณสมบัติของดินทั้งทางกายภาพและทางเคมี โดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ พวกปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสด เพื่อให้ดินร่วนซุยและดูดซับธาตุอาหารไว้ในดินได้ดี ควบคู่กับการใส่ปุ๋ยเคมี เพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ดีขึ้น




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙