ชุดดินหินกอง (Hin Kong Series: Hk)

กลุ่มชุดดินที่ 16
การจำแนกดิน Fine-silty, mixed, subactive, isohyperthermic Typic Paleaquults
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนที่ราบตะกอนน้ำพาหรือตะพักลำ
น้ำระดับต่ำ
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 %
การระบายน้ำ ค่อนข้างเลวถึงเลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทำนา อาจใช้ปลูกพืชไร่อายุสั้นได้ถ้ามีแหล่ง
น้ำเพียงพอ
การแพร่กระจาย พบด้านตะวันออกของที่ราบลุ่มภาคกลาง
การจัดเรียงชั้นดิน Apg-Bg-Btg
ลักษณะและสมบัติของดิน เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายแป้ง สีน้ำตาล ดินบนตอนล่าง เป็นดินร่วนทรายแป้งหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง สีเทา สีเทาอ่อน สีเทาปนชมพู มีจุดประสีน้ำตาลแก่หรือสีน้ำตาลปนเหลืองในดินบนและปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดปานกลาง
(pH 5.0-6.0) ดินล่างตอนล่าง อาจพบจุดประสีแดงดินบน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดแก่ (pH 5.0-5.5) ในดินล่างลึกลงไป อาจพบก้อนกรวดและแมงกานีสสะสมปนอยู่ในดินล่าง หน้าดินเมื่อแห้งจะมีสีขาว
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์

0-25
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินลำปาง และชุดดินมโนรมย์
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ มีน้ำท่วมขังลึก 30 ซม. นาน 3-4 เดือน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก คุณสมบัติทางกายภาพของดินไม่ค่อยดี
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ทำนา ควรปรับปรุงบำรุงดินโดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของดินให้ดีขึ้น ทำให้ดินร่วนซุยและดูดซับธาตุอาหารไว้ในดินได้ดีขึ้นและควรใส่ปุ๋ยเคมีควบคู่กันไปด้วย เพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙